ฉลามเสือ

Transcript of ฉลามเสือ (Tiger shark) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cu

ฉลามเสือ (Tiger shark) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cuvier ฉลามเสือเป็นฉลามน้ำอุ่นที่อพยพเเละออกลูกเป็นตัวชนิดเดียวในวงศ์ Galeocerdo ฉลามเสือเป็นนักล่าขนาดใหญ่ที่อาจจะยาวได้ถึง 5เมตรซึ่งทำให้มันเป็นหนึ่งในฉลามขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งโดยปรกติเเล้ว มันจะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาวประมาณ 2-3เมตร ฉลามเสือนั้นสามารถพบได้ในทะเลเขตร้อนทั่วไป ซึ่งพบมากในมหาสมุทรเเปซิฟิกตอนกลาง ฉลามเสือนั้นจะอยู่ในเส้นศูนย์สูตรตลอดฤดูหนาว เเละมักจะอยู่ในน้ำลึกที่บางทีอาจจะลึกได้ถึง 900เมตร เเต่บางครั้ง ฉลามเสือก็สามารถพบได้ในที่ไกลๆเช่น มหาสมุทรเเปซิฟิกตะวันตก
ลักษณะของปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม)
ปลากระดูกอ่อน(Cartilaginous Fish) มีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ (Placoid) ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก
แคลสเปอร์ (Clasper) โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ (Order) หลายวงศ์ (Family) หลายสกุล (Genus) โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ปลาโรนัน เป็นต้น
ฉลามกอบลิน(goblin shark) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitsukurina owstoni
ฉลามกอบลิน เป็น ปลาน้ำลึก อาศัยอยู่ใกล้พื้นทะเล ในบริเวณที่มีความลึกตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป ตัวอย่างที่เคยจับได้ลึกที่สุดจับได้ที่ความลึก 1,300 เมตร
ฉลามกอบลิน สามารถพบได้ทั่วไปในน้ำลึกที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง พบได้ทั่วตั้งแต่ออสเตรเลีย ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก แต่แหล่งที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ บริเวณน้ำลึกโดยรอบประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นสถานที่แรกที่ค้นพบพวกมัน
ฉลามขาวเป็นฉลามที่มีขนาดใหญ่มากๆ พบได้ทั้งบริเวณใกล้ฝั่งและผิวน้ำในมหาสมุทรใหญ่ๆทั้งหลาย ความยาวตัวอาจจะมากกว่า20ฟุตเลยนะจ๊ะ และหนักถึง4,938 ปอนด์ ฉลามขาวเป็นปลากินเนื้อที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลกตอนนี้เลยนะ


เนื่องจากภาพยนตร์เรื่อง Jaws ทำให้ภาพพจน์ของฉลามกลายเป็นสัตว์กินคนที่น่ากลัวไปซะงั้น ซึ่งจริงๆแล้วฉลามไม่ได้ทำร้ายคนมากขนาดนั้นซะหน่อย มันไม่ได้เห็นมนุษย์เป็นอาหารของมันเลยด้วยซ้ำ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีบันทึกคนถูกฉลามขาวโจมตีแค่31คนในรอบ200ปีมานี้เอง!! น้อยกว่าที่จขบ.คิดไว้ซะอีก แถมมีไม่กี่คนด้วยที่ได้รับบาดแผลถึงตาย ฉลามมันคงเซ็งเนอะ อยู่ดีๆคนก็ไปกลัวมันมากมายซะขนาดนั้น - -

ฉลามวัวถูกเรียกว่าฉลามที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ เพราะโครงกระดูกที่คล้ายคลึงกับพวกที่สูญพันธุ์ไปนานแล้วมีแค่บางส่วนที่ดูเป็นฉลามรุ่นปัจจุบัน ระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารก็ยังไม่วิวัฒนาการ และลักษณะเด่นที่สำคัญอย่างนึงคือ เหงือกของมันมี6 หรือบางทีก็7เรียงกัน ในขณะที่ฉลามอื่นๆมีเหงือกเรียงกัน5อัน
ฉลามวัว
ฉลามขาว
ฉลามกอบลิน
ฉลามเสือ
ฉลามม้าลายที่โตเต็มที่จะมีลักษณะเด่นคือจะมีลายเส้นเป็นแนวเรียงกัน5เส้นตามลำตัว ครีบหางที่อยู่ตรงเกือบครึ่งความยาวลำตัว และลายจุดสีดำเป็นแบคกราวนด์



ในตอนกลางวันจะพบฉลามม้าลายพักผ่อนอยู่ที่พื้นทะเล และบางครั้งจะใช้ครีบหน้าบังคับให้หัวหันไปเจอกับกระแสน้ำและจะอ้าปากทิ้งไว้เพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น มันทั้งเชื่องและเคลื่อนที่ช้า ทำให้ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ และสามารถดำลงไปหาที่พื้นทะเลได้ง่ายๆ แต่ก็มีนักดำน้ำถูกกัดเพราะไปดึงหางมันเพื่อพยายามจะเล่นกับมัน(กำ ก็ซนเองนี่หว่า เล่นอะไรแปลกๆเนอะ) และในปี2008มีอุบัติเหตุถูกฉลามนี้กัดแต่กลับไม่มีแผลซะงั้น

ฉลามม้าลาย
ชื่อนี้แปลเองนะ ไปsearchในกูเกิ้ลไม่มีนะว้อยย!! จะเรียกฉลามฟริลด์ก็แปลกๆไปหน่อยเลยตั้งชื่อไทยให้เองซะเลย ฮ่าๆ



ฉลามชนิดนี้ถูกเรียกว่าฟอซซิลมีชีวิตเลย ซึ่งมันมีหน้าตาเหมือนปลาไหลตัวใหญ่ๆซะมากกว่าแต่จริงๆแล้วมันเป็นฉลามนะ ในวันที่21 มกราคม ค.ศ.2007 ที่ประเทศญี่ปุ่นมีคนพบปลาที่มีลักษณะคล้ายปลาไหลหน้าตาประหลาดๆและมีฟันที่คม ปลาที่พบนั้นคาดว่าท้องอยู่ด้วย มีความยาว1.6เมตร กลุ่มคนที่พบบอกว่ามันดูไม่ค่อยสบาย เลยจับมันมาใส่ตู้ปลาน้ำเค็ม และถ่ายวีดีโอถ่ายภาพของมันเอาไว้ และปลาฉลามตัวนั้นก็ตายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจับมันมา



ที่มันถูกเรียกว่าฟอซซิลมีชีวิตก็เพราะมันแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทุกคนคิดว่ามันสูญพันธุ์ไปแล้วจนกระทั่งมีคนพบมันที่ญี่ปุ่นนั่นแหละ




ฉลามฝอย

ฉลามเสือดาวพบในคาบสมุทรแปซิฟิก ความยาวลำตัว3.9 – 4.9 ฟุต ฉลามรูปร่างเพรียวงามตัวนี้เนี่ยจะมีลักษณะเด่นคือลายตามลำตัวของมัน ลายสีดำคล้ายอานม้าที่พาดอยู่ตามหลัง และจุดสีดำๆขนาดใหญ่



กลุ่มของฉลามเสือดาวขนาดใหญ่จะพบในอ่าวและปากแม่น้ำ พวกมันจะว่ายอยู่เหนือผืนทรายและผืนโคลน พบมากในแถบชายฝั่ง ในน้ำที่ลึกน้อยกว่า13ฟุต ว่องไว ฉลามเสือดาวแทบจะไม่มีอันตราบใดๆเลยกับมนุษย์ มีแค่บันทึกที่ว่ามีฉลามเสือดาวไปก่อกวนนักดำน้ำและแค่ทำให้เลือดกำเดาไหล แต่ไม่มีการบาดเจ็บอื่นๆเลย



ฉลามเสือดาวกินเก่งมากกกก และเพราะมันอาศับอยู่ใกล้กับมนุษย์ทำให้ปัญหาสารเคมีมลพิษต่างๆกระทบไปถึงมันด้วย เช่น ปรอท....

รูปร่างของโลมา
โลมา อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรนับร้อยชนิด แต่ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ ๒ ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร บางครั้งยังพบโลมาอยู่ในแม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะ จะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้
ปลาโลมา
จมูก โลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาทั่วไป
หู หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้านข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของโลมามีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง



การมองเห็น โลมามีดวงตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเปลือกตาปิดได้ และในเวลา กลางคืนตาก็จะเป็นประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง ๕๐ ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิว สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปปลาโลมาจะมีสีผิวแบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ

ความฉลาดของโลมา
ว่ากันว่า โลมานั้นฉลาดไม่แพ้เด็กตัวเล็กๆ เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ สมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้ โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาโลมาช่วยชีวิตคนนั้นมีอยู่บ่อยครั้ง
ความฉลาดของโลมา
แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมาต้องการช่วยชีวิตคนจริงๆ หรือ เชื่อว่าจริงๆ แล้ว ปลาโลมานั้นเป็นปลาที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น ที่มันช่วยคนอาจเป็นเพราะมันต้องการเข้ามาเล่นสนุกๆ เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็น สัญชาตญาณของแม่ปลาที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าลูกปลาเสียชีวิต ระหว่างคลอด จะพบว่าแม่ปลาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด ภัยร้ายของโลมา ในประเทศไทย โลมาที่ติดอวนมาแล้ว จะถูกชำแหละเนื้อขายด้วยราคาถูกๆ เนื่องจากเนื้อปลาโลมามีความคาวมาก จึงไม่มีผู้นิยมบริโภคเท่าใดนัก ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็นประเทศที่ล่าปลาวาฬมากที่สุดในโลก จนกระทั่งปลาวาฬใกล้สูญพันธ์ จึงถูกสั่งห้ามล่าปลาวาฬ หันมาล่าปลาโลมาแทน โดยเพิ่มปริมาณการล่าปลาวาฬขึ้นเป็นสี่เท่า ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก จะเห็นว่าโลมา ไม่ได้มีชีวิตอยู่สุขสบายนักในท้องทะเลธรรมชาติ
ดังนั้น เราก็ควรที่จะอนุรักษ์เจ้าโลมาไว้ เพื่อที่จะได้ยกให้มันเป็นสัตว์ที่น่ารัก และมีให้เราได้เห็นอยู่ในท้องทะเลได้อีกนานๆ คงไม่มีใครอยากเห็นเจ้าโลมาน้อยน่ารัก โดนสาปให้แข็ง ตั้งโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ และมีป้ายเขียนว่า “สัตว์สูญพันธุ์” เป็นแน่.



ทัวร์ปลาโลมาจากเกาะสมุยไม่ได้หนึ่งในทัวร์ที่นิยมมากที่สุดในหมู่ผู้เข้าชมไปยังเกาะสมุย แต่จริงๆควรจะเป็น คุณมีโอกาสที่จะเห็นปลาโลมาพื้นเมืองหายากมากและสวยงามมากสีชมพูน่านน้ำของหมู่เกาะสมุย

ทัวร์ปลาโลมาจากเกาะสมุยเริ่มต้นด้วยการแนะนำทัวร์ของคุณที่มีประสบการณ์การเก็บรวบรวมคุณจากโรงแรมของคุณในรถมินิบัสปรับอากาศและการขับรถคุณผ่านทางทิศใต้ในเขตร้อนที่สวยงามและเขียวชอุ่มของเกาะสมุยไปยังชายหาดที่สวยงามของกรูดทอง
โลมาเผือก
ประเภทของสัตว์นํ้า ปลาฉลามกับปลาโลมา

ลักษณะ

มีรูปร่างอ้วนป้อม ปากกว้าง ปลายปากสั้นและทู่ ลำตัวเรียวไปทางปลายหาง คอดหางมีสันชัดเจน ครีบหางเรียวและมีปลายแหลม มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม มีขอบหยักเป็นจักคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างหลังและหางคล้ายลายของเสือโคร่ง จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งลายนี้อาจแตกเป็นจุดกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโตขึ้น ท้องมีสีจาง
ปลาฉลามเสือเมื่อโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 5 เมตร แต่ตัวที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 7 เมตร น้ำหนักหนักที่สุดคือ 807.4 กิโลกรัม พบกระจายว่ายหากินอยู่ทั่วไปในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั่วโลก มีพฤติกรรมชอบหากินตามแนวปะการังหรือบริเวณใกล้ชายฝั่ง หรือบริเวณปากแม่น้ำ โดยอาศัยตั้งแต่ระดับผิวน้ำจนถึงความลึก 140 เมตร ปกติมักอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวและหากินในเวลากลางคืน ว่ายน้ำได้คล่องแคล่วว่องไวมาก มีอาณาเขตในการหากินกว้าง 100 ตารางกิโลเมตร โดยที่อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น เต่าทะเล รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในทะเล เช่น แมวน้ำ หรือ สิงโตทะเลด้วย
ปลาฉลามเสือได้ชื่อว่าเป็นปลาที่กินไม่เลือกเหมือนเช่นปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias) เพราะมักเจอสิ่งที่ไม่ใช่อาหารในกระเพาะเสมอ ๆ เช่น ยางรถยนต์, กระป๋องน้ำ, เศษไม้ หรือ พลาสติก ซึ่งล้วนแต่เป็นขยะที่มนุษย์โยนทิ้งลงทะเลทั้งสิ้น
ปลาฉลามเสือ เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในระยะเวลาตั้งท้องนานเกือบหนึ่งปี สามารถตกลูกได้ตลอดทั้งปี โดยเฉลี่ยจะตกลูกครั้งละ 10-82 ตัว ลูกปลาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 51.76 เซนติเมตร เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4-6 ปี อายุขัยโดยเฉลี่ย 12 ปี แต่อายุในสถานที่เลี้ยงมักจะมีอายุเพียงสั้น ๆ ไม่เกิน 2 เดือนเท่านั้น
ปลาฉลามเสือ นับได้ว่าเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่มีอันตรายต่อมนุษย์ เพราะมีนิสัยดุร้ายและมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เลือก ในพื้นที่ทะเลของไทยนับได้ว่าเป็นปลาฉลามที่อาจทำร้ายมนุษย์หรือนักดำน้ำได้ร่วมกับ ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) และ ปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus) โดยสถานที่ ๆ มีรายงานปลาฉลามเสือทำร้ายนักดำน้ำหรือนักโต้คลื่นมากที่สุด คือ ฮาวาย เชื่อว่าเกิดจากเหตุที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว จึงทำให้ปลาฉลามเสือเห็นกระดานโต้คลื่นผิดไปเป็นแมวน้ำซึ่งเป็นอาหาร กอรปกับการที่มีเต่าทะเลซึ่งเป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งกระจายพันธุ์สูงด้วย[4]
ปลาฉลามเสือ มีชื่อเรียกอื่น ๆ ในภาษาไทยอีก เช่น "ตะเพียนทอง", "พิมพา" หรือ "เสือทะเล" [5]

อนุกรมวิธาน

ปลาฉลามเสือได้รับการจัดจำแนกครั้งแรกโดย ฟรังซัวร์ เปรอง และ ชาร์ลส์ อเล็กซานเดร์ ลูสซีเออร์ ในปี ค.ศ. 1822 โดยตั้งชื่อว่า Squalus cuvier[6] ในปี ค.ศ. 1837 โยฮันนาส์ ปีเตอร์ มึลเลอร์ และ เฟดเดอริก กุสตาฟ เฮนเล ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Galeocerdo tigrinus[6] สกุล Galeocerdoมาจากภาษากรีก galeos แปลว่า "ปลาฉลาม" และภาษาละติน cerdus แปลว่า "ขนแข็งของหมู"[6] บ่อยครั้งที่ถูกเรียกว่า "ปลาฉลามกินคน"[6]
ปลาฉลามเสือเป็นสมาชิกของอันดับ Carcharhiniformes ซึ่งเป็นอันดับปลาฉลามที่มีสมาชิกมากที่สุด มีมากกว่า 270 ชนิด[6] สมาชิกของอันดับนี้มีลักษณะเด่นคือ มีเยื่อนิกติเตติงเหนือดวงตา มีครีบหลังสองครีบ มี 1 ครีบก้น และช่องเหงือก 5 ช่อง นับเป็นสมาชิกขนาดใหญ่ที่สุดของวงศ์ Carcharhinidae ซึ่งสมาชิกในวงศ์นี้มีรูปร่างเพรียว แต่เต็มไปด้วยพละกำลัง เป็นปลาฉลามขนาดกลางถึงใหญ่[7]

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

บ่อยครั้งที่สามารถพบปลาฉลามเสือใกล้กับชายหาดทั้งในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก[6] มีพฤติกรรมเร่ร่อนโดยใช้กระแสน้ำอุ่นนำทาง ชอบอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรในช่วงฤดูหนาว มักอาศัยในน้ำลึกตามแนวปะการัง แต่ก็สามารถเคลื่อนไหวในร่องน้ำตื้นเพื่อไล่ตามเหยื่อได้ ในทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ปลาฉลามเสือสามารถพบไกลถึงประเทศญี่ปุ่นในทางเหนือและประเทศนิวซีแลนด์ในทางใต้[6] นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในทะเลแคริบเบียน, แอฟริกา, ประเทศจีน, เขตบริหารพิเศษฮ่องกงประเทศอินเดียประเทศออสเตรเลีย, และประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงอ่าวเม็กซิโก, ชายหาดของอเมริกาเหนือ,และบางส่วนของอเมริกาใต้[7]
มีบันทึกว่าพบปลาฉลามเสือที่ระดับความลึก 900 เมตร (3,000 ฟุต),[6] แต่แหล่งข้อมูลบางแหล่งอ้างว่าสามารถเคลื่อนที่ในน้ำตื้นที่ตื้นกว่าขนาดของลำตัว[7] ในการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้แสดงว่า ปลาฉลามเสืออาศัยในน้ำลึกเฉลี่ย 350 เมตร (1,100 ฟุต) และการพบเห็นปลาฉลามเสือเป็นเรื่องไม่ปกตินัก อย่างไรก็ตามมีการพบปลาฉลามเสือในฮาวายในระดับความลึก 3 เมตร (10 ฟุต) ซึ่งระดับน้ำบริเวณนั้นมีความลึก 6 เมตร (20 ฟุต)-12 เมตร (40 ฟุต)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฉลาม

ปลาฉลาม    ปลาฉลาม  (อังกฤษ:  Shark ; ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวก หนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเ...