ปลาฉลาม
ปลาฉลาม (อังกฤษ: Shark; ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวก หนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม
การแบ่ง
ปลาฉลามแบ่งออกได้เป็นหลายอันดับ หลายวงศ์ และหลายชนิด โดยปัจจุบันพบแล้วกว่า 440 ชนิด มีขนาดลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่ 17เซนติเมตร เท่านั้น ในปลาฉลามแคระ (Etmopterus perryi) ซึ่งเป็นปลาฉลามน้ำลึกที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ไปจนถึงปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ที่มีความยาวกว่า 12 เมตร ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย[2]
ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus)
แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว
ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้
ความสำคัญ
ปลาฉลามมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการบริโภคเป็นอาหาร โดยเฉพาะในอาหารจีนที่เรียกว่า "หูฉลาม" ซึ่งทำมาจากครีบของปลาฉลาม จัดเป็นอาหารที่มีราคาแพง ทำให้มีการล่าฉลามในการนี้จนเกือบจะสูญพันธุ์ในหลายชนิด[3] และยังนิยมในการตกปลาเป็นเกมกีฬาอีกด้วย
สำหรับในน่านน้ำไทย ในทะเลอันดามันมีการสำรวจพบปลาฉลามแล้วประมาณ 41 ชนิด
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวอ้วนและเรียวเล็กไปทางด้านหาง ส่วนหัวใหญ่ มีปลายจมูก ( smout ) สั้น ปากกว้างมาก มุมปากยาวถึงหลังตา ช่องเหงือก ( gill slits ) ยาว สองช่องสุดท้ายอยู่เหนือฐานของครีบหู ( pectoral fin ) ฟันซี่เล็กมาก คล้ายเข็มลักษณะเป็นตะขอมากกว่า 50 แถว มีจำนวนหลายร้อยซี่ ตา ไม่มีแผ่นหนังคลุมลูกตา ( nictitating eyelid ) ครีบหลัง ( dorsal fin ) มี 2 ครีบ ครีบแรกค่อนข้างใหญ่ ครีบที่2 เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของครีบแรก ครีบหูใหญ่และเรียวยาว ครีบท้อง ( pelvic fin ) เล็กกว่าครีบหลังครีบแรกและครีบหู ครีบก้น ( anal fin ) เล็ก ฐานของมันอยู่หลังฐานครีบหลังเล็กน้อย ครีบหาง ( caudal fin ) สองส่วนไม่เท่ากันและไม่โค้ง โคนหางไม่มีสันนิสัยและการกินอาหาร
ได้มีการศึกษาปลาฉลาม megamouth จากตัวอย่างที่ถูกจับได้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่โดยติดเครื่อง transmitter ที่ครีบหลังและติดตามพฤติกรรมอยู่ 2 วัน จึงทราบว่ามันมีการอพยพในแนวดิ่ง ( vertical migration ) คือในเวลากลางคืนอยู่ใกล้ผิวน้ำที่ระดับ 10-15 เมตร และดำดิ่งลงไปในระดับลึก 200 เมตรจากผิวน้ำในเวลากลางวัน กระดูกมีแคลเซี่ยมน้อยและมีกล้ามเนื้ออ่อนแอ เนื้อมีน้ำมากทำให้มีการพยุงตัวในน้ำได้ดี เป็นปลาฉลามที่เชื่องช้ากว่าปลาฉลามอีก 2 ชนิดที่กินแพลงก์ตอนเช่นเดียวกัน คือ basking shark และปลาฉลามวาฬ ( whale shark ) ปลาฉลาม megamouth นี้มีการเคลื่อนที่ในแนวระดับเพียง 0.95 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมงจึงอาจเป็นเหยื่อของปลาฉลามชนิดอื่น และจากบาดแผลที่พบตามผิวหนังพบว่ามันยังถูกโจมตีโดย cookiecutter shark ( Isistius brasiliensis ) และพบว่าในกระเพาะอาหารของซากปลาฉลาม megamouth มีแพลงก์ตอนสัตว์พวก euphausid ( Thysanopoda pectinata ) เป็นส่วนมาก นอกจากนี้มี copepod และหวีวุ้น ( comb jelly ) ด้วยในบางตัวการที่พวก euphausid มีการอพยพในแนวดิ่งเช่นเดียวกันจึงมีความสัมพันธ์กับการกินอาหารของปลาฉลาม ชนิดนี้ มันกินอาหารโดยกรองอาหารที่มากับน้ำ เช่น euphausid copepod แมงกะพรุน หวีวุ้น ( comb jelly ) และลูกปลาเป็นต้น จึงเป็นพวก filter feeder ขนาดยักษ์ เมื่อมันอ้าปากที่กว้างใหญ่ ขากรรไกรก็ยืดออก ภายในปากและริมฝีปากที่มีสีเงินเคลือบซึ่งเรืองแสงรวมทั้งแผ่นสีขาวที่ปลาย จมูกดึงดูดให้แพลงก์ตอนสัตว์มารวมตัวกันเข้าไปในปาก มันจึงมีอาหารกินได้ไม่ยากนักปลาฉลาม megamouth ในอดีต
Hennemann (2001) บรรยายความเป็นมาของปลาฉลาม megamouth ว่าในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2519 ที่บริเวณนอกฝั่งฮาวาย เรือของกองทัพสหรัฐอเมริกา พบสัตว์น้ำตายติดอยู่กับสมอทะเลของเรือ เป็นสัตว์ทะเลที่มีคามยาว 5 เมตร สีน้ำตาลและปากกว้างใหญ่มาก มีฟันซี่เล็กมากจำนวนกว่าพันซี่ ในไม่ช้าก็ค้นพบว่าเป็นปลาฉลามชนิดใหม่ หลังจากนั้นจึงตั้งชื่อว่า Megachasma pelavios เนื่องจากมีลักษณะที่แตกต่างจากชนิดอื่นมาก จึงถูกแยกให้อยู่ในครอบครัวใหม่คือ Megachasmidae หลังจากพบตัวแรกถึง 8 ปี จึงพบปลาฉลามชนิดนี้ตายอยู่ในอวนลอยนอกฝั่งแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ต่อมา Dr. Barry Hutchinson แห่ง Weastern Australian Museum ที่เมืองเพิร์ธ ได้รับโทรศัพท์ในตอนเช้าของวันที่ 18 สิงหาคม 2531 ว่ามีสัตว์ประหลาดตายอยู่บนหาด มันมีลักษณะที่อยู่ระหว่างปลาฉลามกับปลาวาฬ เมื่อเขาไปถึงที่นั่นพบผู้คนมุงดูอยู่จำนวนมาก เฮลิคอปเตอร์ของสื่อต่างๆมาอยู่ที่หาด และผู้สื่อข่าวเต็มไปหมด ปลาฉลามตัวนี้มีความยาว 515 เซนติเมตร หัวมีลักษณะคล้ายปลาวาฬผู้ที่พบเปิดเผยว่าเมื่อพบมันที่ผิวน้ำใกล้หาดนั้นใน ตอนแรกคิดว่เป็นปลาวาฬ เพราะปลาวาฬมักจะฆ่าตัวตายโดยว่ายน้ำมาเกยหาด พวกเขาจึงพยายามผลักดันโดยลากออกสู่ทะเล แต่ไม่สำเร็จ เช้าวันต่อมาพบว่ามันตายอยู่บนหาด การที่มีน้ำหนักตัวถึง 700 กิโลกรัม จึงเคลื่อนย้ายไปพิพิธภัณฑ์ยากลำบากมาก ปลาฉลาม megamouth ตัวนี้จึงเป็นตัวที่ 3 ของโลก และถูกเก็บรักษาโดยดองน้ำยาฟอร์มาลีนอยู่ในพิพิธภัณฑ์
หลังจากนั้นมีผู้พบเห็นปลาฉลามชนิดนี้ตามที่ต่างๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่เมือง Hamatsu ในปี 2532 แต่ได้ทิ้งไปในปีเดียวกันพบที่อ่าว Suruga แล้วปล่อยไปเพราะยังมีชีวิตอยู่ ปี 2537 พบที่อ่าว Hakata ขณะนี้เก็บรักษาอยู่ที่ Marine World เมือง Fukuoka ที่เมือง Toba ก็พบตัวที่ขนาดใหญ่กว่า 500 เซนติเมตรในปี 2540 ขณะนี้เก็บรักษาอยู่ที่ toba Aquarium ครั้งล่าสุดพบที่ญี่ปุ่นคือในปี 2541 พบที่ Mie มีความยาว 549 เซนติเมตร เป็นตัวที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา ส่วนที่แคลิฟอร์เนียตอนใต้ก็ได้พบปลาฉลามชนิดนี้ติดอยู่ในอวนลอยที่ใช้จับ ปลากระโทงแทงดาบ( swordfish ) ถึง 4 ครั้ง คือ เกาะ Catalina ในปี 2527 ที่ Dana point , Los Angeles ในปี 2533 และที่ San Diego ในปี 2542 เนื่องจากมันยังมีชีวิตอยู่และมีสภาพดีจึงปล่อยไป ยกเว้นในปี 2527 ที่พบว่าตายอยู่ในอวนจึงเก็บรักษาไว้เพื่อทำการศึกษา ในปี 2541 ที่ชาวประมง 3 คนจับปลาฉลามชนิดนี้ได้ที่อ่าว Macajalar , Cagayan de oro ประเทศฟิลิปปินส์ โดยไม่ทราบว่าเป็นปลาอะไร รุ่งเช้าวิทยุท้องถิ่นรายงานข่าวนี้กล่าวกันว่าเป็นปลาฉลามวาฬ มีนักวิทยาศาสตร์ไปดูและถ่ายรูปไว้ เมื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฉลาม จึงทราบว่าเป็นปลาฉลาม megamouth แต่ปลาขนาดใหญ่ซึ่งมีความยาวประมาณ 549 เซนติเมตร ถูกตัดเป็นชิ้นๆนำเป็นอาหารของผู้คนไปแล้วในปี 2538 ที่นอกฝั่ง Dakar ประเทศเซเนกัล กัปตันเรืออวนล้อมปลาทูน่าต้องประหลาดใจเมื่อพบปลาฉลามรูปร่างประหลาดนี้ใน อวนร่วมกับปลาทูน่าท้องแถบ เป็นปลาฉลาม megamouth ที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยพบมาคือยาว 180 เซนติเมตร ส่วนที่ประเทศบลาซิลก็พบขนาดเล็ดเช่นเดียวกัน คือยาว 190 เซนติเมตร ที่ประเทศอินโดนีเซียพบปลาฉลามชนิดนี้ในปี 2541 ที่นอกฝั่ง Manada , North Sulawesi ซึ่งไม่ใช่ด้านมหาสมุทรอินเดีย โดยขณะที่นักวิทยาศาสตร์ชาวอินโดนีเซียและชาวอิตาลีกำลังเฝ้าดูปลาวาฬอยู่ ตามโครงการ Whale Whtching พบปลาวาฬชนิด sperm whale (Physeter macrocephalus ) 3 ตัวกำลังรุมโจมตีปลาฉลาม megamouth ซึ่งมีความยาวประมาณ 5 เมตร เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆปลาวาฬก็ว่ายหนีไป ส่วนปลาฉลาม megamouth บาดเจ็บเป็นแผลที่ครีบหลังและเหงือก ปลาฉลาม megamouth ที่พบเป็นตัวที่ 6 ได้ถูกทำการศึกษาขณะที่ยังมีชีวิตอยู่และแข็งแรงดี คือ ในเดือนตุลาคม 2533 ชาวประมงที่ Los Angeles พบปลาฉลามในอวนลอยและยังมีชีวิตอยู่จึงผูกไว้กับเรือ แล้วโทรศัพท์แจ้งไปยัง Dr. Robert Lavenberg ซึ่งเมื่อเห็นปลาตัวนี้ได้กล่าวว่า มันเหมือนกับเป็นฟอสซิลที่มีชีวิตที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงใน 10 ล้านปีที่ผ่านมา เขาโทรศัพท์ไปทั่วโลก เพื่อที่จะหาพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่เหมาะสม แต่ไม่สำเร็จ เพราะไม่มีที่ไหนกว้างใหญ่พอที่จะรับปลาฉลามที่มีชีวิตขนาด 494 เซนติเมตรนี้ได้ จึงศึกษาพฤติกรรมของมันโดยติด transmitter ที่ครีบหลัง และติดตามอยู่ 2 วันจึงได้ปล่อยไป จากการศึกษาทราบว่ามันมีการอพยพในแนวดิ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว Tom Haight นักดำน้ำและนักถ่ายรูปใต้น้ำ ที่ได้ร่วมปฏิบัติการนี้กล่าวว่า เขามีความสุขและตื่นเต้นที่สุดในชีวิตการเป็นนักดำน้ำมา 28 ปี เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปลาฉลาม
เมื่อพูดถึงปลาฉลาม ผู้คนจำนวนมากมักมีความรู้สึกหวาดกลัวเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความดุร้ายของปลาฉลามที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ แต่ความจริงแล้วปลาฉลามไม่ได้ดุร้ายอย่าง
ที่เข้าใจกันนะครับ
ที่เข้าใจกันนะครับในสายตา ของคนทั่วไป ปลาฉลามอาจมองดูเป็นสัตว์ดุร้ายกระหายเลือด แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้นมีสถิติที่น่าทึ่งก็คือในบรรดาปลาฉลามที่มีอยู่ประมาณ 350 ชนิดทั่วโลกนั้น มีเพียง 30 ชนิดเท่านั้นที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ และมีเพียง4-5 ชนิดเท่านั้นที่อาจเป็นฝ่ายที่ทำร้ายมนุษย์ก่อน จากสถิติของคนที่ถูกฉลามทำร้ายมีจำนวนประมาณ 28-30 คนต่อปี และมีผู้เสียชีวิตไม่เกิน 10 รายต่อปี ซึ่งนับว่าน้อยกว่าคนที่ถูกฟ้าผ่าตายหรือถูกผึ้งต่อยตายเสียอีก แต่ ในทางตรงกันข้ามปลาฉลามกลับเป็นฝ่ายถูกไล่ล่าและตกเป็นเหยื่อของมนุษย์ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านตัวต่อปี ถ้าหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆปลาฉลามก็อาจสูญพันธุ์ได้ในอนาคตอันใกล้นี้
จากการที่มีวิวัฒนาการอันยาวนานทำให้ปลาฉลามสามารถปรับตัวจนสามาดำรงชีวิตในทุกสภาพแวดล้อมทั่วโลกตั้งแต่ในเขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตรจนถึงเขตอบอุ่นรวมทั้งแม่น้ำบางสายที่เชื่อมต่อกับทะเลก็พบว่ามีฉลามอาศัยอยู่เช่นเดียวกัน เล่ามาถึงตรงนี้หลายๆ ท่าน อาจจะสงสัยว่าปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็งนั้นเป็นอย่างไร จึงขอถือโอกาสอธิบายตรงนี้นะครับว่า
เราแบ่งปลาเป็นกลุ่มตามลักษณะของโครงสร้างของกระดูกออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ ปลากระดูกอ่อน มีอยู่ด้วยกันประมาณ 800 ชนิด และปลากระดูกแข็ง มีประมาณ 24,000 ชนิด ลักษณะที่แตกต่างกันก็คือ ปลากระดูกอ่อนมีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นกระดูกอ่อนทั้งหมด ตำแหน่งของปากจะอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว มีช่องเหงือก 5-7 คู่ ไม่มีแผ่นปิดเหงือก มีเกล็ดมีลักษณะที่เป็นหนามแหลมไม่เรียงซ้อนกัน เพศผู้มีอวัยวะสืบพันธุ์อยู่ 1 คู่บริเวณครีบก้น หางมีลักษณะเป็นแบบไม่สมมาตร โดยแฉกบนมีขนาดใหญ่และยาวกว่าแฉกล่างหรือมีลักษณะเรียวยาวคล้ายแส้
เราแบ่งปลาเป็นกลุ่มตามลักษณะของโครงสร้างของกระดูกออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ ปลากระดูกอ่อน มีอยู่ด้วยกันประมาณ 800 ชนิด และปลากระดูกแข็ง มีประมาณ 24,000 ชนิด ลักษณะที่แตกต่างกันก็คือ ปลากระดูกอ่อนมีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นกระดูกอ่อนทั้งหมด ตำแหน่งของปากจะอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว มีช่องเหงือก 5-7 คู่ ไม่มีแผ่นปิดเหงือก มีเกล็ดมีลักษณะที่เป็นหนามแหลมไม่เรียงซ้อนกัน เพศผู้มีอวัยวะสืบพันธุ์อยู่ 1 คู่บริเวณครีบก้น หางมีลักษณะเป็นแบบไม่สมมาตร โดยแฉกบนมีขนาดใหญ่และยาวกว่าแฉกล่างหรือมีลักษณะเรียวยาวคล้ายแส้เช่น ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ปลาโรนัน และปลาโรนิน เป็นต้น จากโครงสร้างของกระดูกที่เป็นกระดูกอ่อนของปลาฉลามทำให้การศึกษาฉลามจากซากดึกดำบรรพ์เป็นไปได้ยาก เนื่องจากกระดูกอ่อนจะสลายตัวผุพังไปหมด ซากที่พอจะหลงเหลืออยู่บ้างจะเป็นส่วนของกะโหลกศีรษะและกราม ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่พบมากที่สุดก็คือฟันนั่นเอง สำหรับปลากระดูกแข็งมีลักษณะแตกต่างกันที่โครงสร้างของกระดูกเป็นกระดูกแข็ง มีแผ่นปิดเหงือกชัดเจนก็คือตรงบริเวณกระพุ้งแก้มนั่นเอง ส่วนเกล็ดจะมีรูปร่างแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของปลาหรือบางชนิดก็อาจไม่มีเกล็ดหางมีหลายรูปแบบทั้งแบบสมมาตรและไม่มีสมมาตร มีปากอยู่ทางด้านบนและด้านล่างของส่วนหัว ส่วนมากจะออกลูกเป็นไข่ และเป็นปลาที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป เช่น ปลาไหล ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาสิงโต ปลาปักเป้า เป็นต้น
ปัจจุบันปลาฉลามถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มปลาฉลามผิวน้ำ และกลุ่มปลาฉลามหน้าดิน ซึ่งมีรูปร่างลักษณะและนิสัยที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ปลาฉลามผิวน้ำมีรูปร่างปราดเปรียวและว่ายน้ำตลอดเวลาลักษณะของฟันเป็นฟันที่มีความแหลมคมประดุจมีดโกนเรียงกันเป็นแถวอยู่ภายในปาก ส่วนฉลามหน้าดินมีนิสัยชอบกบดานอยู่นิ่งๆมากกว่าเคลื่อนที่ ฟันมีลักษณะเป็นฟันขบ กินซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหาร ไม่ค่อย
ดุร้ายและส่วนใหญ่มีนิสัยขี้เล ปลาฉลามที่พบใน
ดุร้ายและส่วนใหญ่มีนิสัยขี้เล ปลาฉลามที่พบใน
ดุร้ายและส่วนใหญ่มีนิสัยขี้เล ปลาฉลามที่พบในประเทศไทยมีประมาณ 30 ชนิด
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น