ลักษณะ
มีรูปร่างที่แปลกตาแตกต่างไปจากปลาฉลามในวงศ์หรือสกุลอื่น ๆ คือ มีส่วนหัวที่แบนราบและแผ่ออกข้างคล้ายปีกหรือแลดูคล้ายค้อนทั้งสองข้าง โดยมีดวงตาอยู่สุดปลายทั้งสอง ปัจจุบัน ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีไว้เพื่ออะไร แต่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ช่วยให้การหาว่ายน้ำที่ช่วยส่งแรงยกตัวขึ้นหน้าด้าน ทำให้พุ่งตัวขึ้นในแนวดิ่งได้ดีขึ้น อีกทั้งยังใช้เป็นประสาทสัมผัสรับรู้และช่วยลดแรงต้านน้ำให้เหลือน้อยลงในการไล่งับอาหาร และในเวลาเอี้ยวหัวในเวลาว่ายน้ำ ซึ่งจากตำแหน่งของตาที่อยู่สุดปลายปีกสองข้างนั้น ทำให้ปลาฉลามหัวค้อนมีประสาทสายตาดีกว่าปลาฉลามจำพวกอื่น ๆ โดยสามารถมองเห็นภาพในมุมกว้างได้มากกว่าและสามารถทำให้มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ มีรูจมูกที่แยกจากกันเพื่อประสิทธิภาพในการดมกลิ่น[1] และยังสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ เพื่อจับหาที่อยู่ของอาหารได้ด้วย ไม่ว่าจะอยู่กลางทะเลหรือซ่อนอยู่บริเวณหน้าดินก็ตาม แต่ทว่าก็มีข้อเสียคือ ไม่สามารถที่จะเห็นภาพหรือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในระยะใกล้ได้[2]
มีสีลำตัวเป็นสีเทาอมน้ำตาลหรือสีเทาอมดำ หรือจนเกือบดำในบางชนิด ใต้ท้องเป็นสีขาว มีปากเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวอยู่ด้านล่างส่วนหัว
พฤติกรรม
ฉลามหัวค้อน มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 10-20 ตัว พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลแถบอบอุ่นทั่วทุกมุมโลก เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว มีขนาดลำตัวตั้งแต่ไม่เกิน 1.5 เมตร จนถึง 6 เมตร ชอบกินอาหารจำพวก ปลากระดูกแข็งขนาดเล็กกว่า รวมถึงปลากระเบนซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเหมือนกันด้วย นอกจากนี้ยังชอบกิน หมึก, กุ้ง, ปู และหอย รวมทั้งอาจล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลขนาดใหญ่ เช่น โลมาหรือแมวน้ำ ได้ด้วยในบางชนิด โดยมักว่ายหากินตั้งแต่แนวปะการังไปจนถึงใต้ท้องทะเลลึกกว่า 275 เมตร ชอบว่ายน้ำโดยไม่หยุดไปมาตลอด ซึ่งสามารถว่ายน้ำได้ระยะไกล ๆ ในวันหนึ่ง ๆ โดยมีความเร็วในการว่ายประมาณ 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 25 ปี
ปลาฉลามหัวค้อนจะออกลูกเป็นตัว ตกคราวละ 4-37 ตัว โดยการผสมพันธุ์จะเกิดก่อนที่ตัวเมียจะตกไข่นานถึง 2 เดือน ปลาตัวเมียจะเก็บน้ำเชื้อของตัวผู้ไว้ในต่อมสร้างเปลือกไข่ ซึ่งไข่จะเจริญมาจากรังไข่ข้างขวาซึ่งจะทำหน้าที่เพียงข้างเดียว ตัวอ่อนในมดลูกจะได้รับอาหารและออกซิเจนจากถุงไข่แดงและพู่เหงือก ซึ่งจะหายไปเมื่อโตขึ้น[3]
ปลาฉลามหัวค้อนที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบหมู่เกาะกาลาปากอส มีพฤติกรรมว่ายออกหากินเป็นฝูง และไม่เพียงแค่ว่ายน้ำไปพร้อมกันเท่านั้น แต่พวกยังมีระบบสังคมหรือแม้แต่การสื่อสารปรากฏออกมาผ่านพฤติกรรมทั้งการสั่นหัวอย่างรุนแรง การเร่งความเร็วอย่างกะทันหัน การบิดตัวอย่างแปลกประหลาด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาเรื่องนี้เชื่อว่าท่าทางเหล่านี้คือการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม โดยจะรวมตัวกันอยู่ที่แถว ๆ ภูเขาไฟใต้ทะเลระหว่างวัน แต่เมื่อถึงตอนกลางคืนก็จะแยกย้ายกันออกไปหาอาหารของตัวเอง ปลาฉลามหัวค้อนมักจะทำกิจวัตรทุกอย่างที่เป็นเส้นตรง และจะกลับมาตอนรุ่งเช้า ก่อนจะเริ่มต้นทำทุกอย่างเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง
ปลาฉลามหัวค้อน ถือเป็นนักล่าที่ปราดเปรียวว่องไว ถือว่ามีความว่องไวกว่าปลาฉลามนักล่าขนาดใหญ่กว่า อย่าง ปลาฉลามขาว หรือปลาฉลามเสือ การปักและหมุนเป็นพฤติกรรมที่ปลาฉลามหัวค้อนจะใช้ส่วนหัวกดปลากระเบนให้ดำดิ่งลงไปติดพื้นทะเล จากนั้นก็จะหมุนตัวเพื่อเลือกชิ้นส่วนของปลากระเบนในการกัดกิน การใช้หัวปักเหยื่อคือหนึ่งในความสามารถของการปรับตัวกับขนาดหัวที่ใหญ่ ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่แปลกประหลาดแต่ก็มีประสิทธิภาพมากที่สุดประการหนึ่งเช่นกัน
ปลาฉลามหัวค้อนหยัก
ปลาฉลามหัวค้อนหยัก | |
---|---|
ปลาฉลามหัวค้อนหยัก ที่เกาะโคคอส, คอสตาริกา | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Carcharhiniformes |
วงศ์: | Sphyrnidae |
สกุล: | Sphyrna |
สปีชีส์: | S. lewini |
ชื่อทวินาม | |
Sphyrna lewini (E. Griffith & C. H. Smith, 1834) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาฉลามหัวค้อนหยัก หรือ ปลาฉลามหัวค้อนสั้น หรือ อ้ายแบ้หยัก หรือ อ้ายแบ้สั้น (อังกฤษ: Scalloped hammerhead, Squat-headed hammerhead, Kidney-headed shark; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sphyrna lewini) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามหัวค้อน (Sphyrnidae)
รูปร่างยาวเรียวคล้ายกับปลาฉลามหัวค้อนชนิดอื่น ๆ มีลักษณะเด่น คือ ส่วนของหัวที่แผ่ออกแบนออกไปทั้งสองข้าง เป็นรูปค้อน นัยน์ตาอยู่ตรงบริเวณปลายส่วนที่แผ่ออกไปทั้ง 2 ด้าน มีรอยหยักลึกด้านหน้าสุดของหัวที่แตกต่างไปจากปลาฉลามหัวค้อนชนิดอื่น มีเยื่อหุ้มนัยน์ตา ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว ลักษณะคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว ครีบหลังมีขนาดใหญกว่าครีบอก พื้นลำตัวสีเทา หลังสีเทาปนน้ำตาล ท้องสีขาว ขอบครีบมีรอยแต้มสีดำที่ปลาย
มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาล่าเหยื่อที่สามารถกินสัตว์น้ำได้หมดแทบทุกอย่าง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 4.3 เมตร (14 ฟุต) น้ำหนักถึง 15 กิโลกรัม (330 ปอนด์) แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณอยู่ที่ 50-100 เซนติเมตร จัดเป็นปลาฉลามหัวค้อนที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยหากินตั้งแต่กลางน้ำจนถึงหน้าดิน มีรายงานว่าพบได้ในที่ ๆ ลึกถึง 500 เมตร ในบางครั้งอาจหากินเข้ามาถึงในแหล่งน้ำกร่อย
มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวาง ตั้งแต่ตลอดแนวชายฝั่งด้านมหาสมุทรแอตแลนติกของทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง จนถึงอเมริกาใต้,ทวีปแอฟริกา, ทวีปเอเชีย, ออสเตรเลีย สำหรับน่านน้ำไทยพบได้ที่ฝั่งอ่าวไทย
เป็นปลาเศรษฐกิจ สามารถนำมาบริโภคได้ ครีบสามารถทำไปเป็นหูฉลามได้
ปลาฉลามหัวค้อนยาว
ปลาฉลามหัวค้อนยาว | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับใหญ่: | Selachimorpha |
อันดับ: | Carcharhiniformes |
วงศ์: | Sphyrnidae |
สกุล: | Eusphyra T. N. Gill, 1862 |
สปีชีส์: | E. blochii |
ชื่อทวินาม | |
Eusphyra blochii (G. Cuvier, 1816) | |
Range of the winghead shark[2] | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาฉลามหัวค้อนยาว (อังกฤษ: Winghead sharkชื่อวทยาศาสตร์ Eusphyra blochii) คือสปีชิส์สิ่งมีชีวิตในกลุ่มปลาฉลามหัวค้อนซึ่งอยู่ในวงศ์Sphyrnidae มีความยาวของลำตัวได้ถึง 1.9 เมตร (6.2 ฟุต) มีสีน้ำตาลหรือสีดำ มีรูปร่างเพรียวบาง และมีครีบหลังในรูปเคียวด้ามยาว ชื่อของฉลามชนิดนี้มาจากลักษณะส่วนหัวรูปค้อนที่มีขนาดใหญ่มาก เรียกว่า cephalofoil ซึ่งมีความกว้างได้มากถึงครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว การใช้งานจากโครงสร้างลำตัวเช่นนี้ไม่ปรากฏชัดเจนแต่อาจเกี่ยวกับระบบประสาทสัมผัสของฉลาม ช่องว่างระหว่างตาทั้งสองข้างช่วยให้ฉลามมองด้วยระบบการเห็นภาพจากสองตาได้ดีเยี่ยม ส่วนรูจมูกที่ยาวมากนั้นอาจช่วยให้ฉลามตรวจจับและติดตามกลิ่นในน้ำได้ดียิ่งขึ้น ส่วนหัว cephalofoil ยังมีพื้นสัมผัสที่มีขนาดใหญ่สำหรับรูเปิดที่มีชื่อว่าampullae of Lorenzini และเส้นข้างลำตัว ซึ่งส่งผลดีต่อความสามารถในการตรวจจับกระแสไฟฟ้า และการตรวจจับพลังงาน
ปลาฉลามหัวค้อนยาว อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งน้ำตื้นของทะเลอินโด-แปซิฟิกตะวันตก โดยออกหาอาหารกลุ่มปลากระดูกแข็ง สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง และสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ฉลามหัวค้อนยาวออกลูกเป็นตัว โดยตัวอ่อนจะได้รับอาหารผ่านทางสายที่เชื่อมรก ตัวเมียจะตกลูกคราวละ 6-25 ตัว ขึ้นอยู่กับพื้นที่อาศัย ช่วงเวลาตกลูกมักเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนหลังจากระยะเวลาตั้งครรภ์นาน 8-11 เดือน ฉลามที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์นี้ มักจะถูกล่าเพื่อเป็นอาหาร สำหรับเนื้อปลา ครีบ น้ำมันตับปลา และปลาป่น สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ได้ประเมินสถานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากจำนวนของฉลามที่ลดลงเนื่องมาจากการถูกล่าหาประโยชน์ที่มากเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น