ลักษณะและพฤติกรรม
มีรูปร่างอ้วนป้อม หัวกลมป้านมีขนาดใหญ่ ข้อที่สองครีบหลังเป็นกระโดงรูปสามเหลี่ยมมุมป้าน มีนิสัยดุร้าย กินปลาและสัตว์ต่าง ๆ ในน้ำเป็นอาหาร รวมทั้งอาจทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย พบอาศัยในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่ง ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 316.5 กิโลกรัม
ปลาฉลามหัวบาตร เป็นปลาฉลามชนิดที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ โดยพบเป็นบางครั้งในแม่น้ำใหญ่ที่ห่างจากทะเลนับร้อยกิโลเมตร เช่นแม่น้ำมิสซิสซิปปี, แม่น้ำอเมซอน, แม่น้ำแซมบีซี, แม่น้ำไทกริส, แม่น้ำแยงซี, ทะเลสาบนิคารากัว ในประเทศไทยเช่น แม่น้ำโขง, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำสาละวิน เป็นต้น[3] โดยปลาจะว่ายเข้ามาจากทะเล มีรายงานว่าอยู่ห่างจากทะเลมากที่สุด คือ แม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ พบอยู่ห่างจากทะเลถึง 2,200 ไมล์[4]
ปลาฉลามหัวบาตร เป็นปลาที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร สามารถที่จะกินปลาขนาดใหญ่เช่น ปลากระเบน หรือแม้แต่พวกเดียวกันได้ โดยฟันที่อยู่กรามล่างจะมีลักษณะแหลมยาวกว่าฟันที่อยู่กรามบน เพราะใช้ในการกัดเหยื่อก่อน ก่อนที่ฟันกรามบนจะงับซ้ำลงมาเพื่อไม่ให้เหยื่อหลุด ในบางครั้งจะสะบัดเหยื่อให้ขาดเป็น 2 ท่อนด้วย โดยแรงกัดที่วัดได้วัดได้สูงสุดถึง 1,250 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยมักใช้หัวพุ่งชนก่อนกัดเหยื่อ อีกทั้งนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนสูงที่สุดในบรรดาสัตว์โลกทั้งมวลอีกด้วย[5]
ปลาฉลามหัวบาตร มีร่างกายที่สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำจืดสนิทได้ ด้วยการควบคุมปริมาณเกลือและยูเรีย จากต่อมที่ทวารหนักที่ทำหน้าที่เหมือนวาล์วเปิดปิดปัสสาวะ ควบคุมปริมาณเกลือให้สมดุลกับร่างกาย อีกทั้งการที่มีส่วนหัวขนาดใหญ่ทำให้ได้เปรียบกว่าปลาฉลามกินเนื้อชนิดอื่น ๆ ด้วยการที่มีรูรับประสาทสัมผัสที่ส่วนจมูกมากกว่า ทำให้ปลาฉลามหัวบาตรรับรู้สนามไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี จนสามารถรับรู้ได้ถึงเสียงหัวใจเต้นของมนุษย์ ทำให้มีประสาทสัมผัสการล่าที่ดีกว่าปลาฉลามชนิดอื่น [4] โดยปกติแล้ว ปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์เติบโตในน้ำจืดได้ แม้แต่ขณะที่อยู่ในท้อง ลูกปลาฉลามหัวบาตรจะกินกันเองจนเหลือเพียงไม่กี่ตัวที่จะคลอดออกมา
เป็นปลาที่ใช้ตกเป็นเกมกีฬา รวมถึงใช้บริโภค แต่การเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงกลับไม่รอด พบเพียงแต่ที่เดียวเท่านั้น คือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในออสเตรเลีย[3]
ปลาฉลามหัวบาตรที่พบในแม่น้ำบรีเด ในแอฟริกาใต้ มีพฤติกรรมที่แปลกไปกว่าปลาฉลามหัวบาตรในที่อื่น ๆ คือ ไม่โจมตีทำร้ายมนุษย์หากมีอาหารในแม่น้ำเพียงพอ และจะหาอาหารโดยการขโมยปลาที่ตกได้โดยชาวประมงในท้องถิ่น ด้วยการตามเรือประมงไป จึงทำให้ปลาที่นี่มีขนาดใหญ่กว่าปลาที่พบในที่อื่น[6]
การทำร้ายมนุษย์
- ฉลามบูล(ฺBull shark) หรือในประเทศไทยรู้จักกันในชื่อ ฉลามหัวบาตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharhinus leucas
- ในเหตุการณ์ปลาฉลามโจมตีที่ชายฝั่งเจอร์ซีย์ ค.ศ. 1916 เป็นการจู่โจมมนุษย์โดยปลาฉลามหัวบาตรที่ขึ้นชื่ออย่างมาก และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ ปีเตอร์ เบนชลีย์ นักเขียนชาวอเมริกัน แต่งเป็นนวยายเรื่อง Jaws ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันที่โด่งดังมากในปี ค.ศ. 1975[7]ในปลายปี ค.ศ. 2002 ซึ่งตรงกับฤดูร้อนของออสเตรเลีย มีนักศึกษาระดับปริญญาเอก 2 คน ได้ลงไปว่ายน้ำในทะเลสาบไมอามี รัฐควีนส์แลนด์ เพื่อดับร้อน คนหนึ่งสามารถว่ายน้ำขึ้นฝั่งได้อย่างปลอดภัย แต่ โบ มาร์ติน นักศึกษาอีกคนวัย 23 ปี กลับหายไป เมื่อเพื่อนของเขากระโดดลงไปช่วยก็ไม่พบตัว วันรุ่งขึ้น พ่อของมาร์ตินและเจ้าหน้าที่ตำรวจออกตามหา แต่ก็ไม่พบ อีก 3 วันต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เลิกค้นหาแล้ว แต่พ่อของมาร์ตินยังคงค้นหาต่อด้วยเรือแคนู ในที่สุดก็พบศพลูกชายตัวเอง ในสภาพที่กึ่งจมกึ่งลอย ด้วยก๊าซในร่างกายที่ดันศพให้ลอยขึ้นมา ผลของการชันสูตร พบว่า โบ มาร์ติน เสียชีวิตจากการถูกปลาฉลามหัวบาตรกัดถึง 3 ครั้ง โดยบาดแผลฉกรรจ์ที่สุดอยู่ที่ต้นขาซ้าย[4]ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2003 ที่แม่น้ำบริสเบน ในออสเตรเลีย มีผู้พาม้าแข่งของตัวลงไปว่ายน้ำเพื่อออกกำลังกาย ปรากฏว่าม้าน้ำหนักถึง 2,000 ปอนด์ ถูกอะไรบางอย่างโจมตีที่ขาหลังและสะโพก จนเกือบจะถูกลากลงไปในน้ำ แม้จะรอดมาได้ด้วยเชือกที่เจ้าของผูกจูงไว้ แต่ด้วยแผลที่ฉกรรจ์ แม้ภายนอกจะหายสนิทแล้ว แต่กล้ามเนื้อภายในคงยังเสียหาย จนไม่อาจใช้เป็นม้าแข่งได้อีกต่อไป ภาพของบาดแผลผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าเป็นการโจมตีของปลาฉลามหัวบาตร[4]นอกจากนี้แล้วยังมีรายงานอื่น ๆ มาจากหลายส่วนของโลก เช่น อินเดีย และทะเลสาบมิชิแกน และแม่น้ำมิสซิปซิปปี ในสหรัฐอเมริกา หรือทะเลสาบน้ำจืด ในฟิลิปปินส์ ที่พบว่าปลาฉลามหัวบาตรทำร้ายมนุษย์ หรือสัตว์เลี้ยง แม้กระทั่งกัดกินศพที่ลอยน้ำมาด้วยในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2015 มีนักท่องเที่ยวหญิงชาวออสเตรเลียลงเล่นน้ำทะเลที่หาดกะรน จังหวัดภูเก็ต ถูกสัตว์ทะเลบางอย่างทำร้ายจนมีแผลเหวอะที่เท้าซ้าย สันนิษฐานว่าเป็นปลาฉลาม และน่าจะเป็นปลาฉลามหัวบาตร[8] แต่ในประเทศไทย จัดว่าพบปลาฉลามหัวบาตรน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่พบในแนวปะการังซึ่งเป็นปลาขนาดใหญ่[3] ส่วนในน้ำจืดพบได้น้อยมาก และเป็นปลาขนาดเล็ก เช่น แม่น้ำสาละวิน หรือแม่น้ำแม่กลอง ตราส่วนความกว้างของลำตัวเมื่อเทียบกับความยาวมากกว่าฉลามชนิดอื่น) มีจมูกสั้น และนิสัยขึ้ันๆลงๆเอาแน่เอานอนไม่ได้ เหมือนกระทิง
- พวกมันสามารถพบได้ทั่วไปในมหาสมุทรที่มีน้ำอุ่น สามารถดำน้ำได้ลึกถึง 150 เมตร แต่มักจะไม่พบในระดับความลึกเกิน 30 เมตร หรือแม้แต่ในแม่น้ำ และทะเลสาบ ทั้งยังสามารถพบพวกมันในสถานที่คุณอาจไม่คาดคิดเช่น บริเวณตีนเขาแอนดีสในเปรู , ในบริเวณที่ลึกจากปากแม่น้ำอเมซอนกว่า 3,700 กิโลเมตร , ในทะเลสาบนิคารากัว(ทะเลสาบน้ำจืด) หรือแม้แต่ในทะเลสาบกลางทวีปอเมริกา
- อย่างไรก็ตามพวกมันยังไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ในน้ำจืด พวกมันยังคงต้องรับน้ำเค็มในบริเวณปากแม่น้ำเป็นระยะ
- พวกมันเป็น 1 ใน 3 ฉลามที่ทำร้าย และสังหารมนุษย์มากที่สุด(รวมกับ ฉลามขาว และฉลามเสือ) โดยพวกมันโจมตีมนุษย์บ่อยที่สุด เนื่องจากมันมีถิ่นที่อยู่อาศัย และล่าเหยื่อในน้ำตื้นตามแนวชายฝั่ง ซึ่งเป็นบริเวณที่มนุษย์ทำกิจกรรม ทั้งยังมีความสามารถอาศัยในน้ำจืด ซึงเป็นบริเวณที่มนุษย์ไม่คาดคิดว่าจะถูกโจมตีด้วยฉลาม ทั้งยังกินอาหารหลากหลาย
- ฉลามบูล เป็นฉลามขนาดใหญ่ โดยตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ สามารถยาวได้ถึง 3.5 เมตร หนักได้ถึง 318 กิโลกรัม มีีร่างกายฉีกบนสีเทา ฉีกล่างสีขาว ขากรรไกรมีแรงกัดประมาณ 567 กิโลกรัม
- ฉลามบูล กินอาหารค่อนข้างหลากหลาย ทั้งปลากระดูกแข็ง ฉลาม รวมถึงพวกเดียวกันเอง รวมไปถึงเต่า นก โลมา สัตว์เลือดอุ่น กุ้ง ปู และดาวทะเล โดยพวกมันมักจะใช้เทคนิดในการล่าแบบ ชนแล้วกัด(bump-and-bite )
- พวกมันมักจะออกล่าโดยลำพัง แต่ก็สามารถพบได้เป็นคู่เหมือนกัน พวกมันมักจะว่ายเข้ามาล่าในบริเวณน้ำตื้น พวกมันเป็นฉลามที่ค่อนข้างก้าวร้าว สามารถเร่งความเร็วได้อย่างฉับพลัน
- พวกมันจะผสมพันธุ์ในช่วงปลายฤดูร้อนต้นฤดูใบไม้ร่วง ในบริเวณน้ำกร่อยปากแม่น้ำ โดยจะตั้งท้อง 12 เดือนก่อนจะให้่กำเนิดลูกปลาฉลามน้อยความยาวได้ถึง 0.7 เมตร จำนวน 5 - 10 และเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 10 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น