วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ฉลาม

ปลาฉลาม


  ปลาฉลาม (อังกฤษ: Shark; ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวก หนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม
                       

การแบ่ง


ปลาฉลามแบ่งออกได้เป็นหลายอันดับ หลายวงศ์ และหลายชนิด โดยปัจจุบันพบแล้วกว่า 440 ชนิด มีขนาดลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่ 17เซนติเมตร เท่านั้น ในปลาฉลามแคระ (Etmopterus perryi) ซึ่งเป็นปลาฉลามน้ำลึกที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ไปจนถึงปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ที่มีความยาวกว่า 12 เมตร ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย[2]
ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus)
แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว
ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้

ความสำคัญ

ปลาฉลามมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการบริโภคเป็นอาหาร โดยเฉพาะในอาหารจีนที่เรียกว่า "หูฉลาม" ซึ่งทำมาจากครีบของปลาฉลาม จัดเป็นอาหารที่มีราคาแพง ทำให้มีการล่าฉลามในการนี้จนเกือบจะสูญพันธุ์ในหลายชนิด[3] และยังนิยมในการตกปลาเป็นเกมกีฬาอีกด้วย
สำหรับในน่านน้ำไทย ในทะเลอันดามันมีการสำรวจพบปลาฉลามแล้วประมาณ 41 ชนิด


ลักษณะทั่วไป

         ลำตัวอ้วนและเรียวเล็กไปทางด้านหาง ส่วนหัวใหญ่ มีปลายจมูก ( smout ) สั้น ปากกว้างมาก มุมปากยาวถึงหลังตา ช่องเหงือก    ( gill slits ) ยาว สองช่องสุดท้ายอยู่เหนือฐานของครีบหู ( pectoral fin ) ฟันซี่เล็กมาก คล้ายเข็มลักษณะเป็นตะขอมากกว่า 50 แถว มีจำนวนหลายร้อยซี่ ตา ไม่มีแผ่นหนังคลุมลูกตา ( nictitating eyelid ) ครีบหลัง ( dorsal fin ) มี 2 ครีบ ครีบแรกค่อนข้างใหญ่ ครีบที่2 เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของครีบแรก ครีบหูใหญ่และเรียวยาว ครีบท้อง ( pelvic fin ) เล็กกว่าครีบหลังครีบแรกและครีบหู ครีบก้น ( anal fin ) เล็ก ฐานของมันอยู่หลังฐานครีบหลังเล็กน้อย ครีบหาง ( caudal fin ) สองส่วนไม่เท่ากันและไม่โค้ง โคนหางไม่มีสัน


 นิสัยและการกินอาหาร

            ได้มีการศึกษาปลาฉลาม megamouth จากตัวอย่างที่ถูกจับได้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่โดยติดเครื่อง transmitter ที่ครีบหลังและติดตามพฤติกรรมอยู่ 2 วัน จึงทราบว่ามันมีการอพยพในแนวดิ่ง ( vertical migration ) คือในเวลากลางคืนอยู่ใกล้ผิวน้ำที่ระดับ 10-15 เมตร และดำดิ่งลงไปในระดับลึก 200 เมตรจากผิวน้ำในเวลากลางวัน กระดูกมีแคลเซี่ยมน้อยและมีกล้ามเนื้ออ่อนแอ เนื้อมีน้ำมากทำให้มีการพยุงตัวในน้ำได้ดี เป็นปลาฉลามที่เชื่องช้ากว่าปลาฉลามอีก 2 ชนิดที่กินแพลงก์ตอนเช่นเดียวกัน คือ basking shark และปลาฉลามวาฬ ( whale shark ) ปลาฉลาม megamouth นี้มีการเคลื่อนที่ในแนวระดับเพียง 0.95 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมงจึงอาจเป็นเหยื่อของปลาฉลามชนิดอื่น และจากบาดแผลที่พบตามผิวหนังพบว่ามันยังถูกโจมตีโดย cookiecutter shark ( Isistius brasiliensis ) และพบว่าในกระเพาะอาหารของซากปลาฉลาม megamouth มีแพลงก์ตอนสัตว์พวก euphausid ( Thysanopoda pectinata ) เป็นส่วนมาก นอกจากนี้มี copepod และหวีวุ้น ( comb jelly ) ด้วยในบางตัวการที่พวก euphausid มีการอพยพในแนวดิ่งเช่นเดียวกันจึงมีความสัมพันธ์กับการกินอาหารของปลาฉลาม ชนิดนี้ มันกินอาหารโดยกรองอาหารที่มากับน้ำ เช่น euphausid copepod แมงกะพรุน หวีวุ้น ( comb jelly ) และลูกปลาเป็นต้น จึงเป็นพวก filter feeder ขนาดยักษ์ เมื่อมันอ้าปากที่กว้างใหญ่ ขากรรไกรก็ยืดออก ภายในปากและริมฝีปากที่มีสีเงินเคลือบซึ่งเรืองแสงรวมทั้งแผ่นสีขาวที่ปลาย จมูกดึงดูดให้แพลงก์ตอนสัตว์มารวมตัวกันเข้าไปในปาก มันจึงมีอาหารกินได้ไม่ยากนัก



ปลาฉลาม megamouth ในอดีต

         Hennemann (2001) บรรยายความเป็นมาของปลาฉลาม megamouth ว่าในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2519 ที่บริเวณนอกฝั่งฮาวาย เรือของกองทัพสหรัฐอเมริกา พบสัตว์น้ำตายติดอยู่กับสมอทะเลของเรือ เป็นสัตว์ทะเลที่มีคามยาว 5 เมตร สีน้ำตาลและปากกว้างใหญ่มาก มีฟันซี่เล็กมากจำนวนกว่าพันซี่ ในไม่ช้าก็ค้นพบว่าเป็นปลาฉลามชนิดใหม่ หลังจากนั้นจึงตั้งชื่อว่า Megachasma pelavios เนื่องจากมีลักษณะที่แตกต่างจากชนิดอื่นมาก จึงถูกแยกให้อยู่ในครอบครัวใหม่คือ Megachasmidae หลังจากพบตัวแรกถึง 8 ปี จึงพบปลาฉลามชนิดนี้ตายอยู่ในอวนลอยนอกฝั่งแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ต่อมา Dr. Barry Hutchinson แห่ง Weastern Australian Museum ที่เมืองเพิร์ธ ได้รับโทรศัพท์ในตอนเช้าของวันที่ 18 สิงหาคม 2531 ว่ามีสัตว์ประหลาดตายอยู่บนหาด มันมีลักษณะที่อยู่ระหว่างปลาฉลามกับปลาวาฬ เมื่อเขาไปถึงที่นั่นพบผู้คนมุงดูอยู่จำนวนมาก เฮลิคอปเตอร์ของสื่อต่างๆมาอยู่ที่หาด และผู้สื่อข่าวเต็มไปหมด ปลาฉลามตัวนี้มีความยาว 515 เซนติเมตร หัวมีลักษณะคล้ายปลาวาฬผู้ที่พบเปิดเผยว่าเมื่อพบมันที่ผิวน้ำใกล้หาดนั้นใน ตอนแรกคิดว่เป็นปลาวาฬ เพราะปลาวาฬมักจะฆ่าตัวตายโดยว่ายน้ำมาเกยหาด พวกเขาจึงพยายามผลักดันโดยลากออกสู่ทะเล แต่ไม่สำเร็จ เช้าวันต่อมาพบว่ามันตายอยู่บนหาด การที่มีน้ำหนักตัวถึง 700 กิโลกรัม จึงเคลื่อนย้ายไปพิพิธภัณฑ์ยากลำบากมาก ปลาฉลาม megamouth ตัวนี้จึงเป็นตัวที่ 3 ของโลก และถูกเก็บรักษาโดยดองน้ำยาฟอร์มาลีนอยู่ในพิพิธภัณฑ์

หลังจากนั้นมีผู้พบเห็นปลาฉลามชนิดนี้ตามที่ต่างๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่เมือง Hamatsu ในปี 2532 แต่ได้ทิ้งไปในปีเดียวกันพบที่อ่าว Suruga แล้วปล่อยไปเพราะยังมีชีวิตอยู่ ปี 2537 พบที่อ่าว Hakata ขณะนี้เก็บรักษาอยู่ที่ Marine World เมือง Fukuoka ที่เมือง Toba ก็พบตัวที่ขนาดใหญ่กว่า 500 เซนติเมตรในปี 2540 ขณะนี้เก็บรักษาอยู่ที่ toba Aquarium ครั้งล่าสุดพบที่ญี่ปุ่นคือในปี 2541 พบที่ Mie มีความยาว 549 เซนติเมตร เป็นตัวที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา
ส่วนที่แคลิฟอร์เนียตอนใต้ก็ได้พบปลาฉลามชนิดนี้ติดอยู่ในอวนลอยที่ใช้จับ ปลากระโทงแทงดาบ( swordfish ) ถึง 4 ครั้ง คือ เกาะ Catalina ในปี 2527 ที่ Dana point , Los Angeles ในปี 2533 และที่ San Diego ในปี 2542 เนื่องจากมันยังมีชีวิตอยู่และมีสภาพดีจึงปล่อยไป ยกเว้นในปี 2527 ที่พบว่าตายอยู่ในอวนจึงเก็บรักษาไว้เพื่อทำการศึกษา
ในปี 2541 ที่ชาวประมง 3 คนจับปลาฉลามชนิดนี้ได้ที่อ่าว Macajalar , Cagayan de oro ประเทศฟิลิปปินส์ โดยไม่ทราบว่าเป็นปลาอะไร รุ่งเช้าวิทยุท้องถิ่นรายงานข่าวนี้กล่าวกันว่าเป็นปลาฉลามวาฬ มีนักวิทยาศาสตร์ไปดูและถ่ายรูปไว้ เมื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฉลาม จึงทราบว่าเป็นปลาฉลาม megamouth แต่ปลาขนาดใหญ่ซึ่งมีความยาวประมาณ 549 เซนติเมตร ถูกตัดเป็นชิ้นๆนำเป็นอาหารของผู้คนไปแล้วในปี 2538 ที่นอกฝั่ง Dakar ประเทศเซเนกัล กัปตันเรืออวนล้อมปลาทูน่าต้องประหลาดใจเมื่อพบปลาฉลามรูปร่างประหลาดนี้ใน อวนร่วมกับปลาทูน่าท้องแถบ เป็นปลาฉลาม megamouth ที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยพบมาคือยาว 180 เซนติเมตร ส่วนที่ประเทศบลาซิลก็พบขนาดเล็ดเช่นเดียวกัน คือยาว 190 เซนติเมตร
ที่ประเทศอินโดนีเซียพบปลาฉลามชนิดนี้ในปี 2541 ที่นอกฝั่ง Manada , North Sulawesi ซึ่งไม่ใช่ด้านมหาสมุทรอินเดีย โดยขณะที่นักวิทยาศาสตร์ชาวอินโดนีเซียและชาวอิตาลีกำลังเฝ้าดูปลาวาฬอยู่ ตามโครงการ Whale Whtching พบปลาวาฬชนิด sperm whale (Physeter macrocephalus ) 3 ตัวกำลังรุมโจมตีปลาฉลาม megamouth ซึ่งมีความยาวประมาณ 5 เมตร เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆปลาวาฬก็ว่ายหนีไป ส่วนปลาฉลาม megamouth บาดเจ็บเป็นแผลที่ครีบหลังและเหงือก
            

            ปลาฉลาม megamouth ที่พบเป็นตัวที่ 6 ได้ถูกทำการศึกษาขณะที่ยังมีชีวิตอยู่และแข็งแรงดี คือ ในเดือนตุลาคม 2533 ชาวประมงที่ Los Angeles พบปลาฉลามในอวนลอยและยังมีชีวิตอยู่จึงผูกไว้กับเรือ แล้วโทรศัพท์แจ้งไปยัง Dr. Robert Lavenberg ซึ่งเมื่อเห็นปลาตัวนี้ได้กล่าวว่า มันเหมือนกับเป็นฟอสซิลที่มีชีวิตที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงใน 10 ล้านปีที่ผ่านมา เขาโทรศัพท์ไปทั่วโลก เพื่อที่จะหาพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่เหมาะสม แต่ไม่สำเร็จ เพราะไม่มีที่ไหนกว้างใหญ่พอที่จะรับปลาฉลามที่มีชีวิตขนาด 494 เซนติเมตรนี้ได้ จึงศึกษาพฤติกรรมของมันโดยติด transmitter ที่ครีบหลัง และติดตามอยู่ 2 วันจึงได้ปล่อยไป จากการศึกษาทราบว่ามันมีการอพยพในแนวดิ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว Tom Haight นักดำน้ำและนักถ่ายรูปใต้น้ำ ที่ได้ร่วมปฏิบัติการนี้กล่าวว่า เขามีความสุขและตื่นเต้นที่สุดในชีวิตการเป็นนักดำน้ำมา 28 ปี


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปลาฉลาม

            เมื่อพูดถึงปลาฉลาม ผู้คนจำนวนมากมักมีความรู้สึกหวาดกลัวเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความดุร้ายของปลาฉลามที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ แต่ความจริงแล้วปลาฉลามไม่ได้ดุร้ายอย่าง


ที่เข้าใจกันนะครับ

ที่เข้าใจกันนะครับในสายตา   ของคนทั่วไป ปลาฉลามอาจมองดูเป็นสัตว์ดุร้ายกระหายเลือด แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้นมีสถิติที่น่าทึ่งก็คือในบรรดาปลาฉลามที่มีอยู่ประมาณ 350 ชนิดทั่วโลกนั้น มีเพียง 30 ชนิดเท่านั้นที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ และมีเพียง4-5 ชนิดเท่านั้นที่อาจเป็นฝ่ายที่ทำร้ายมนุษย์ก่อน จากสถิติของคนที่ถูกฉลามทำร้ายมีจำนวนประมาณ 28-30 คนต่อปี และมีผู้เสียชีวิตไม่เกิน 10 รายต่อปี ซึ่งนับว่าน้อยกว่าคนที่ถูกฟ้าผ่าตายหรือถูกผึ้งต่อยตายเสียอีก แต่ ในทางตรงกันข้ามปลาฉลามกลับเป็นฝ่ายถูกไล่ล่าและตกเป็นเหยื่อของมนุษย์ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านตัวต่อปี ถ้าหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆปลาฉลามก็อาจสูญพันธุ์ได้ในอนาคตอันใกล้นี้

จากการที่มีวิวัฒนาการอันยาวนานทำให้ปลาฉลามสามารถปรับตัวจนสามาดำรงชีวิตในทุกสภาพแวดล้อมทั่วโลกตั้งแต่ในเขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตรจนถึงเขตอบอุ่นรวมทั้งแม่น้ำบางสายที่เชื่อมต่อกับทะเลก็พบว่ามีฉลามอาศัยอยู่เช่นเดียวกัน เล่ามาถึงตรงนี้หลายๆ ท่าน อาจจะสงสัยว่าปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็งนั้นเป็นอย่างไร จึงขอถือโอกาสอธิบายตรงนี้นะครับว่า 



            เราแบ่งปลาเป็นกลุ่มตามลักษณะของโครงสร้างของกระดูกออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ ปลากระดูกอ่อน มีอยู่ด้วยกันประมาณ 800 ชนิด และปลากระดูกแข็ง มีประมาณ 24,000 ชนิด ลักษณะที่แตกต่างกันก็คือ ปลากระดูกอ่อนมีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นกระดูกอ่อนทั้งหมด ตำแหน่งของปากจะอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว มีช่องเหงือก 5-7 คู่ ไม่มีแผ่นปิดเหงือก มีเกล็ดมีลักษณะที่เป็นหนามแหลมไม่เรียงซ้อนกัน เพศผู้มีอวัยวะสืบพันธุ์อยู่ 1 คู่บริเวณครีบก้น หางมีลักษณะเป็นแบบไม่สมมาตร โดยแฉกบนมีขนาดใหญ่และยาวกว่าแฉกล่างหรือมีลักษณะเรียวยาวคล้ายแส้


            เราแบ่งปลาเป็นกลุ่มตามลักษณะของโครงสร้างของกระดูกออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ ปลากระดูกอ่อน มีอยู่ด้วยกันประมาณ 800 ชนิด และปลากระดูกแข็ง มีประมาณ 24,000 ชนิด ลักษณะที่แตกต่างกันก็คือ ปลากระดูกอ่อนมีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นกระดูกอ่อนทั้งหมด ตำแหน่งของปากจะอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว มีช่องเหงือก 5-7 คู่ ไม่มีแผ่นปิดเหงือก มีเกล็ดมีลักษณะที่เป็นหนามแหลมไม่เรียงซ้อนกัน เพศผู้มีอวัยวะสืบพันธุ์อยู่ 1 คู่บริเวณครีบก้น หางมีลักษณะเป็นแบบไม่สมมาตร โดยแฉกบนมีขนาดใหญ่และยาวกว่าแฉกล่างหรือมีลักษณะเรียวยาวคล้ายแส้เช่น ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ปลาโรนัน และปลาโรนิน เป็นต้น จากโครงสร้างของกระดูกที่เป็นกระดูกอ่อนของปลาฉลามทำให้การศึกษาฉลามจากซากดึกดำบรรพ์เป็นไปได้ยาก เนื่องจากกระดูกอ่อนจะสลายตัวผุพังไปหมด ซากที่พอจะหลงเหลืออยู่บ้างจะเป็นส่วนของกะโหลกศีรษะและกราม ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่พบมากที่สุดก็คือฟันนั่นเอง สำหรับปลากระดูกแข็งมีลักษณะแตกต่างกันที่โครงสร้างของกระดูกเป็นกระดูกแข็ง มีแผ่นปิดเหงือกชัดเจนก็คือตรงบริเวณกระพุ้งแก้มนั่นเอง ส่วนเกล็ดจะมีรูปร่างแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของปลาหรือบางชนิดก็อาจไม่มีเกล็ดหางมีหลายรูปแบบทั้งแบบสมมาตรและไม่มีสมมาตร มีปากอยู่ทางด้านบนและด้านล่างของส่วนหัว ส่วนมากจะออกลูกเป็นไข่ และเป็นปลาที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป เช่น ปลาไหล ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาสิงโต ปลาปักเป้า เป็นต้น

            ปัจจุบันปลาฉลามถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มปลาฉลามผิวน้ำ และกลุ่มปลาฉลามหน้าดิน ซึ่งมีรูปร่างลักษณะและนิสัยที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ปลาฉลามผิวน้ำมีรูปร่างปราดเปรียวและว่ายน้ำตลอดเวลาลักษณะของฟันเป็นฟันที่มีความแหลมคมประดุจมีดโกนเรียงกันเป็นแถวอยู่ภายในปาก ส่วนฉลามหน้าดินมีนิสัยชอบกบดานอยู่นิ่งๆมากกว่าเคลื่อนที่ ฟันมีลักษณะเป็นฟันขบ กินซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหาร ไม่ค่อย

ดุร้ายและส่วนใหญ่มีนิสัยขี้เล ปลาฉลามที่พบใน
ดุร้ายและส่วนใหญ่มีนิสัยขี้เล ปลาฉลามที่พบใน
ดุร้ายและส่วนใหญ่มีนิสัยขี้เล ปลาฉลามที่พบในประเทศไทยมีประมาณ 30 ชนิด

ฉลามหัวบาต (Bull shark)

ลักษณะและพฤติกรรม

มีรูปร่างอ้วนป้อม หัวกลมป้านมีขนาดใหญ่ ข้อที่สองครีบหลังเป็นกระโดงรูปสามเหลี่ยมมุมป้าน มีนิสัยดุร้าย กินปลาและสัตว์ต่าง ๆ ในน้ำเป็นอาหาร รวมทั้งอาจทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย พบอาศัยในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่ง ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 316.5 กิโลกรัม
ปลาฉลามหัวบาตร เป็นปลาฉลามชนิดที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ โดยพบเป็นบางครั้งในแม่น้ำใหญ่ที่ห่างจากทะเลนับร้อยกิโลเมตร เช่นแม่น้ำมิสซิสซิปปีแม่น้ำอเมซอนแม่น้ำแซมบีซีแม่น้ำไทกริสแม่น้ำแยงซีทะเลสาบนิคารากัว ในประเทศไทยเช่น แม่น้ำโขงแม่น้ำแม่กลองแม่น้ำสาละวิน เป็นต้น[3] โดยปลาจะว่ายเข้ามาจากทะเล มีรายงานว่าอยู่ห่างจากทะเลมากที่สุด คือ แม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ พบอยู่ห่างจากทะเลถึง 2,200 ไมล์[4]
ปลาฉลามหัวบาตร เป็นปลาที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร สามารถที่จะกินปลาขนาดใหญ่เช่น ปลากระเบน หรือแม้แต่พวกเดียวกันได้ โดยฟันที่อยู่กรามล่างจะมีลักษณะแหลมยาวกว่าฟันที่อยู่กรามบน เพราะใช้ในการกัดเหยื่อก่อน ก่อนที่ฟันกรามบนจะงับซ้ำลงมาเพื่อไม่ให้เหยื่อหลุด ในบางครั้งจะสะบัดเหยื่อให้ขาดเป็น 2 ท่อนด้วย โดยแรงกัดที่วัดได้วัดได้สูงสุดถึง 1,250 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยมักใช้หัวพุ่งชนก่อนกัดเหยื่อ อีกทั้งนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนสูงที่สุดในบรรดาสัตว์โลกทั้งมวลอีกด้วย[5]
ปลาฉลามหัวบาตร มีร่างกายที่สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำจืดสนิทได้ ด้วยการควบคุมปริมาณเกลือและยูเรีย จากต่อมที่ทวารหนักที่ทำหน้าที่เหมือนวาล์วเปิดปิดปัสสาวะ ควบคุมปริมาณเกลือให้สมดุลกับร่างกาย อีกทั้งการที่มีส่วนหัวขนาดใหญ่ทำให้ได้เปรียบกว่าปลาฉลามกินเนื้อชนิดอื่น ๆ ด้วยการที่มีรูรับประสาทสัมผัสที่ส่วนจมูกมากกว่า ทำให้ปลาฉลามหัวบาตรรับรู้สนามไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี จนสามารถรับรู้ได้ถึงเสียงหัวใจเต้นของมนุษย์ ทำให้มีประสาทสัมผัสการล่าที่ดีกว่าปลาฉลามชนิดอื่น [4] โดยปกติแล้ว ปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์เติบโตในน้ำจืดได้ แม้แต่ขณะที่อยู่ในท้อง ลูกปลาฉลามหัวบาตรจะกินกันเองจนเหลือเพียงไม่กี่ตัวที่จะคลอดออกมา
ไฟล์:A female Carcharhinus leucas at the Shark Reef Marine Reserve, Fiji - pone.0016597.s005.ogv
ปลาฉลามหัวบาตรตัวเมียในเขตอนุรักษ์แนวปะการังที่ฟิจิ
ส่วนหัว
ปลาทั้งตัวที่ถูกจับได้
เป็นปลาที่ใช้ตกเป็นเกมกีฬา รวมถึงใช้บริโภค แต่การเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงกลับไม่รอด พบเพียงแต่ที่เดียวเท่านั้น คือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในออสเตรเลีย[3]
ปลาฉลามหัวบาตรที่พบในแม่น้ำบรีเด ในแอฟริกาใต้ มีพฤติกรรมที่แปลกไปกว่าปลาฉลามหัวบาตรในที่อื่น ๆ คือ ไม่โจมตีทำร้ายมนุษย์หากมีอาหารในแม่น้ำเพียงพอ และจะหาอาหารโดยการขโมยปลาที่ตกได้โดยชาวประมงในท้องถิ่น ด้วยการตามเรือประมงไป จึงทำให้ปลาที่นี่มีขนาดใหญ่กว่าปลาที่พบในที่อื่น[6]

การทำร้ายมนุษย์


  • ฉลามบูล(ฺBull shark) หรือในประเทศไทยรู้จักกันในชื่อ ฉลามหัวบาตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharhinus leucas
  • พวกมันได้รับชื่อว่า ฉลามบูล(กระทิง) มาจากรูปร่างที่ล่ำสันบึกบึน(เป็นฉลามที่มีอัปัจจุบัน มีการจัดอันดับให้ปลาฉลามหัวบาตรเป็นปลาฉลามที่มีอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุด เนื่องด้วยการที่พบกระจายอยู่ทั่วโลกและสามารถเข้ามาอาศัยได้ในน้ำจืดได้[4]
    ในเหตุการณ์ปลาฉลามโจมตีที่ชายฝั่งเจอร์ซีย์ ค.ศ. 1916 เป็นการจู่โจมมนุษย์โดยปลาฉลามหัวบาตรที่ขึ้นชื่ออย่างมาก และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ ปีเตอร์ เบนชลีย์ นักเขียนชาวอเมริกัน แต่งเป็นนวยายเรื่อง Jaws ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันที่โด่งดังมากในปี ค.ศ. 1975[7]
    ในปลายปี ค.ศ. 2002 ซึ่งตรงกับฤดูร้อนของออสเตรเลีย มีนักศึกษาระดับปริญญาเอก 2 คน ได้ลงไปว่ายน้ำในทะเลสาบไมอามี รัฐควีนส์แลนด์ เพื่อดับร้อน คนหนึ่งสามารถว่ายน้ำขึ้นฝั่งได้อย่างปลอดภัย แต่ โบ มาร์ติน นักศึกษาอีกคนวัย 23 ปี กลับหายไป เมื่อเพื่อนของเขากระโดดลงไปช่วยก็ไม่พบตัว วันรุ่งขึ้น พ่อของมาร์ตินและเจ้าหน้าที่ตำรวจออกตามหา แต่ก็ไม่พบ อีก 3 วันต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เลิกค้นหาแล้ว แต่พ่อของมาร์ตินยังคงค้นหาต่อด้วยเรือแคนู ในที่สุดก็พบศพลูกชายตัวเอง ในสภาพที่กึ่งจมกึ่งลอย ด้วยก๊าซในร่างกายที่ดันศพให้ลอยขึ้นมา ผลของการชันสูตร พบว่า โบ มาร์ติน เสียชีวิตจากการถูกปลาฉลามหัวบาตรกัดถึง 3 ครั้ง โดยบาดแผลฉกรรจ์ที่สุดอยู่ที่ต้นขาซ้าย[4]
    ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2003 ที่แม่น้ำบริสเบน ในออสเตรเลีย มีผู้พาม้าแข่งของตัวลงไปว่ายน้ำเพื่อออกกำลังกาย ปรากฏว่าม้าน้ำหนักถึง 2,000 ปอนด์ ถูกอะไรบางอย่างโจมตีที่ขาหลังและสะโพก จนเกือบจะถูกลากลงไปในน้ำ แม้จะรอดมาได้ด้วยเชือกที่เจ้าของผูกจูงไว้ แต่ด้วยแผลที่ฉกรรจ์ แม้ภายนอกจะหายสนิทแล้ว แต่กล้ามเนื้อภายในคงยังเสียหาย จนไม่อาจใช้เป็นม้าแข่งได้อีกต่อไป ภาพของบาดแผลผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าเป็นการโจมตีของปลาฉลามหัวบาตร[4]
    นอกจากนี้แล้วยังมีรายงานอื่น ๆ มาจากหลายส่วนของโลก เช่น อินเดีย และทะเลสาบมิชิแกน และแม่น้ำมิสซิปซิปปี ในสหรัฐอเมริกา หรือทะเลสาบน้ำจืด ในฟิลิปปินส์ ที่พบว่าปลาฉลามหัวบาตรทำร้ายมนุษย์ หรือสัตว์เลี้ยง แม้กระทั่งกัดกินศพที่ลอยน้ำมาด้วย
    ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2015 มีนักท่องเที่ยวหญิงชาวออสเตรเลียลงเล่นน้ำทะเลที่หาดกะรน จังหวัดภูเก็ต ถูกสัตว์ทะเลบางอย่างทำร้ายจนมีแผลเหวอะที่เท้าซ้าย สันนิษฐานว่าเป็นปลาฉลาม และน่าจะเป็นปลาฉลามหัวบาตร[8] แต่ในประเทศไทย จัดว่าพบปลาฉลามหัวบาตรน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่พบในแนวปะการังซึ่งเป็นปลาขนาดใหญ่[3] ส่วนในน้ำจืดพบได้น้อยมาก และเป็นปลาขนาดเล็ก เช่น แม่น้ำสาละวิน หรือแม่น้ำแม่กลอง ตราส่วนความกว้างของลำตัวเมื่อเทียบกับความยาวมากกว่าฉลามชนิดอื่น) มีจมูกสั้น และนิสัยขึ้ันๆลงๆเอาแน่เอานอนไม่ได้ เหมือนกระทิง
  • พวกมันสามารถพบได้ทั่วไปในมหาสมุทรที่มีน้ำอุ่น สามารถดำน้ำได้ลึกถึง 150 เมตร แต่มักจะไม่พบในระดับความลึกเกิน 30 เมตร หรือแม้แต่ในแม่น้ำ และทะเลสาบ ทั้งยังสามารถพบพวกมันในสถานที่คุณอาจไม่คาดคิดเช่น บริเวณตีนเขาแอนดีสในเปรู , ในบริเวณที่ลึกจากปากแม่น้ำอเมซอนกว่า 3,700 กิโลเมตร , ในทะเลสาบนิคารากัว(ทะเลสาบน้ำจืด) หรือแม้แต่ในทะเลสาบกลางทวีปอเมริกา
  • อย่างไรก็ตามพวกมันยังไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ในน้ำจืด พวกมันยังคงต้องรับน้ำเค็มในบริเวณปากแม่น้ำเป็นระยะ
  • พวกมันเป็น 1 ใน 3 ฉลามที่ทำร้าย และสังหารมนุษย์มากที่สุด(รวมกับ ฉลามขาว และฉลามเสือ) โดยพวกมันโจมตีมนุษย์บ่อยที่สุด เนื่องจากมันมีถิ่นที่อยู่อาศัย และล่าเหยื่อในน้ำตื้นตามแนวชายฝั่ง ซึ่งเป็นบริเวณที่มนุษย์ทำกิจกรรม ทั้งยังมีความสามารถอาศัยในน้ำจืด ซึงเป็นบริเวณที่มนุษย์ไม่คาดคิดว่าจะถูกโจมตีด้วยฉลาม ทั้งยังกินอาหารหลากหลาย
  • ฉลามบูล เป็นฉลามขนาดใหญ่ โดยตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ สามารถยาวได้ถึง 3.5 เมตร หนักได้ถึง 318 กิโลกรัม มีีร่างกายฉีกบนสีเทา ฉีกล่างสีขาว ขากรรไกรมีแรงกัดประมาณ 567 กิโลกรัม
  • ฉลามบูล กินอาหารค่อนข้างหลากหลาย ทั้งปลากระดูกแข็ง ฉลาม รวมถึงพวกเดียวกันเอง รวมไปถึงเต่า นก โลมา สัตว์เลือดอุ่น กุ้ง ปู และดาวทะเล โดยพวกมันมักจะใช้เทคนิดในการล่าแบบ ชนแล้วกัด(bump-and-bite )
  • พวกมันมักจะออกล่าโดยลำพัง แต่ก็สามารถพบได้เป็นคู่เหมือนกัน พวกมันมักจะว่ายเข้ามาล่าในบริเวณน้ำตื้น พวกมันเป็นฉลามที่ค่อนข้างก้าวร้าว สามารถเร่งความเร็วได้อย่างฉับพลัน
  • พวกมันจะผสมพันธุ์ในช่วงปลายฤดูร้อนต้นฤดูใบไม้ร่วง ในบริเวณน้ำกร่อยปากแม่น้ำ โดยจะตั้งท้อง 12 เดือนก่อนจะให้่กำเนิดลูกปลาฉลามน้อยความยาวได้ถึง 0.7 เมตร จำนวน 5 - 10 และเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 10 ปี

ฉลามน้ำเงิน



ปลา ฉลามสีฟ้าเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของปลาฉลามสีฟ้าเห็นปลาฉลามที่รู้จักกัน ทั่วไปเป็นเรื่องปกติมากขึ้นในพอสมควรไปทะเลเขตร้อน ปลาฉลามปลาฉลามสีฟ้าที่เป็นของความยาวทั้งหมดถึง 6 เมตรจมูกแหลมขึ้นกับฟันหยักขอบปลาส่วนใหญ่ แต่ยังกินซากสัตว์ที่พวกเขาได้อย่างรวดเร็วสามารถปรากฏรอบการสังหารหมู่ของ ปลาวาฬ เป็นปลาฉลามโจมตีเป็นไปได้ในมนุษย์

ลักษณะรูปร่าง

   ปลา ฉลามสีฟ้าได้มากกว่า 3.8 เมตรยาว แต่มันเป็นเรื่องปกติ 1.8-2.4 เมตร มีครีบอกยาว, สีน้ำเงินเข้มหลังสีน้ำหนักเบาเพียงเล็กน้อยทั้งสองด้านท้องสีขาว โดยปกติ 60-80 กิโลกรัมมีการบันทึกแต่ละชั่งน้ำหนักสูงสุด 205 กิโลกรัม ในรูปร่างแปซิฟิกฉลามสีฟ้าขนาดเล็กโดยทั่วไปมักจะไม่เกิน 2 เมตร สัญญาณที่โดดเด่นของสายพันธุ์ที่ไม่มีความสับสนทั่วไป [1]
เลนเป็น แกนรูปลำตัวค่อนข้างเพรียว แคบหัวแบนแนวตั้ง ฐานหางเว้ากับด้านบนและด้านล่างของแต่ละภาวะซึมเศร้า หางที่ยาวและโค้ง ตาเล็กรอบขอบวงโคจรไม่หยักฟิล์มทันทีพัฒนา จมูกยาวและพนังเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้างโดยไม่ต้องคูจมูกหรือหนวด ริมฝีปากร่องระยะสั้นมักจะ จำกัด ไปยังพื้นที่ปาก กว้างอ้าปากค้างโค้งลึกปากปิดเมื่อไม่ชัดเจนฟันขากรรไกรล่างสัมผัส; ฟันขากรรไกรกว้างแบนรูปสามเหลี่ยมเว้าขอบด้านนอกขอบหยักกับ cusps ชัดเจนเอียงเล็กน้อยไม่มีฟันคมเล็กฟันขากรรไกรล่างยาวและแคบ สร้างด้วยขอบหยัก ช่องลมขาด 2 ครีบหลังสันหลังระหว่างที่ไม่มีแรกครีบ Zhongshan หลังมหาวิทยาลัยเริ่มห่างไกลออกไปในฐานครีบครีบอกตามขอบของมุมทื่อปิดภาค เรียนปลายแหลมมุมด้านล่าง; ครีบหลังที่สองมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับจุดเริ่มต้นและครีบขอบทวารหนั​​กลาก เป็นจุดฮอร์นเว้าหลัง; ครีบยาวและแคบเว้าขอบ, cusp มุมด้านนอกโดมมุมที่ยืดออกในช่วงแรกทางด้านฐานครีบหลังด้านหลังครีบหางยาว เพิ่มขึ้นแกนหางกลีบรูปสามเหลี่ยมอย่างมีนัยสำคัญต่ำกว่าด้านหน้า ที่โดดเด่นส่วนขยายแบนกลางกับด้านหลังมีรอยลึกระหว่างรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ด้านหลังที่โดดเด่นลาก cusp ร่างกายสีน้ำเงินเข้มหลัง; ร่างกายโดยไม่มีคราบใดท้องสีขาว ปลายครีบทรวงอกและทวารหนั​​กที่มืด

การกระจาย

ฉลาม สีน้ำเงินช่วงกระจาย: มหาสมุทรแปซิฟิกมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแอตแลนติก ขึ้นไปทางเหนือมากที่สุดในนอร์เวย์ชิลีเข้าถึงภาคใต้ส่วนใหญ่ในมหาสมุทร แปซิฟิกถึง 20 °ยังไม่มีถึง 20 ° S ระหว่าง สีน้ำเงินฉลามอุณหภูมิที่เหมาะสมที่ 7-16 ℃ แต่อุณหภูมิของน้ำที่ 21 ℃หรือสูงกว่ายังคงสามารถอยู่รอดได้ ปลาฉลามสีฟ้าจะเริ่มสม่ำเสมอจากมหาสมุทรแอตแลนติกไปตามกระแสการเคลื่อนไหว ที่เป็นที่นิยม ที่พบในเขตร้อนพอสมควรและภูมิภาคมหาสมุทร เย็น Hi และทำให้ในอ่าวเม็กซิโกทะเลเอเดรียติกหรือทะเลแดงไม่พบ [1]
กระจายอยู่ในที่อุ่นน้ำร้อน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนและน้ำทะเลภาคตะวันออกมีการกระจาย


นิสัย

ฉลาม Daqing อาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนหรืออบอุ่นจากพื้นถึง 350 เมตรใต้น้ำที่มหาสมุทรบน ภายใต้สถานการณ์ปกติการกระทำของพวกเขาค่อนข้างช้า แต่ถ้าจำเป็นสามารถก้าวไปข้างหน้าด้วยความเร็ว breakneck
สีน้ำเงิน ฉลามปลาหมึกเป็นเหยื่อหลัก แต่ยังรวมถึงปลาหมึก, ปลาหมึกมหาสมุทรกุ้ง, ปู, กุ้งและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ และกระดูกปลาขนาดใหญ่ปลาฉลามขนาดเล็กและเลี้ยงลูกด้วยนม, ซากสัตว์และอื่น ๆ บางครั้งมีนกทะเลเพื่อเป็นอาหาร ในการจับตัวของท้องของปลาฉลามสีฟ้ามีสะอึกสะอื้นพบยังพบในการให้อาหารปลา ฉลามสีฟ้าจากปรากฏการณ์ประมงอวนลากปลา [1]
ที่อยู่อาศัย
ปลา ฉลามขนาดใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรบนพบว่าแม้จะอยู่ในน่านน้ำชายฝั่งมีรายงาน การได้ปรากฏตัวในบริเวณปากแม่น้ำ โดยทั่วไปอยู่ที่พื้นผิวกิจกรรมความประพฤติหน้าอก, หลังและกลีบหางจะได้สัมผัสบนผิวหน้า, ว่ายน้ำช้า ความรุนแรงทางเพศกิจกรรมและแข็งแรงการโจมตีที่ใช้งานบนคนที่มีความเสี่ยง กระดูกปลาส่วนใหญ่เป็นกุ้งปลาหมึกเลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลเต่าทะเลนกทะเลปู ทะเลเพื่อเป็นอาหาร

ปลาฉลามสี ฟ้าเป็นสัตว์ Ovoviviparous, ถุงไข่แดงรกเด็กแต่ละคนสามารถจะเกิดเพียง 4-100

การเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์

 ตัวอ่อน ปลาฉลามระยะเวลาการตั้งครรภ์เป็นหญิง 9-12 เดือน หญิงสุก 5-6 ปีเพศชายใน 4-5 ปีอายุ เชื่อว่าเพศชายจะกัดหญิงในระหว่างการเกี้ยวพาราสีฉลามสีน้ำเงินผู้ใหญ่เพื่อ ให้สามารถขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีรอยแทะที่จะระบุเพศเพื่อที่จะปรับให้เข้า กับการผสมพันธุ์นี้ของพวกเขาฉลามสีฟ้าหญิงวิวัฒน์สามครั้งหนากว่าเยื่อหุ้ม สมองชาย . [1]

ระดับการป้องกัน

IUCN รายชื่อแดงเป็นภัยคุกคามใกล้ (NT) [1]

มูลค่าการใช้

ส่วน ใหญ่อยู่ในอวนด้านล่าง, Seine กับดักกรงปลาอวนและ longlines จับมูลค่าทางเศรษฐกิจ เนื้อสัตว์ยังสามารถแปรรูปเป็นความหลากหลายของเนื้อ; ปลาฉลามครีบเกรดทำผิวหนาสามารถแปรรูปเป็นหนังวิตามินและตับสามารถแปรรูปเป็น น้ำมันปลาป่นที่เหลือ

ปลาฉลามสีฟ้านอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการแพทย์, การศึกษาการรับรู้ความสามารถทางการแพทย์ทั่วโลกของกระดูกอ่อนปลาฉลามมานาน แต่ในความหลากหลายของปลาฉลามเท่านั้นที่เห็นปลาฉลามสีฟ้า (ปลาฉลามสีฟ้า) ที่หนึ่งชนิดของปลาฉลามได้รับผู้ป่วยที่ข้อต่อ การรับรู้ความสามารถได้รับการยืนยันโดยการฟื้นฟูกระดูกอ่อนของมนุษย์ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980, ผงแปรรูปปลาฉลามสีฟ้ากระดูกอ่อนที่ทำจากกระดูกอ่อนปลาฉลามได้รับในยุโรปและ ประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ ที่เป็นความหลากหลายของโรคร่วมและมะเร็งผลิตภัณฑ์ทดแทนการบำบัดถูกนำมาใช้ กันอย่างแพร่หลายในการปฏิบัติทางคลินิกจะได้รับจำนวนมากที่มีโปรโมชั่นของ ร่างกายมนุษย์ กระดูกอ่อนฟื้นฟูการหักห้ามใจของเจเนซิส, ธรรมชาติต้านการอักเสบแก้ปวดประสิทธิภาพของการพิสูจน์

พิสูจน์ทางการ แพทย์เห็นปลาฉลามผงสีฟ้าอ่อนตามธรรมชาติไม่มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ กับความก้าวหน้าในเทคโนโลยีทางการแพทย์และปรัชญาของนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ประเทศมากขึ้นและมากขึ้นในการลดสัดส่วนของการใช้ยาสารเคมีและให้ความเคารพ มากขึ้นสำหรับการรักษาอำนาจของธรรมชาติบำบัด กระดูกอ่อนปลาฉลาม 100% เลื่อยธรรมชาติสีฟ้าบริสุทธิ์ได้รับการพัฒนาธรรมชาติบำบัดรักษาทางเลือกที่ เป็นตัวแทนที่โดดเด่นที่สุด ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการรักษาทางเลือกจะได้รับการใช้กันอย่าง แพร่หลายในการรักษาทางคลินิกของข้อต่อทำให้มันคอร์ปอเรชั่นปลาฉลามเป็นหนึ่ง ร้อยภูมิใจยักษ์อุตสาหกรรมนี้

Tiger Shark (ปลาฉลามเสือ)

Transcript of ฉลามเสือ (Tiger shark) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cu

ฉลามเสือ (Tiger shark) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cuvier ฉลามเสือเป็นฉลามน้ำอุ่นที่อพยพเเละออกลูกเป็นตัวชนิดเดียวในวงศ์ Galeocerdo ฉลามเสือเป็นนักล่าขนาดใหญ่ที่อาจจะยาวได้ถึง 5เมตรซึ่งทำให้มันเป็นหนึ่งในฉลามขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งโดยปรกติเเล้ว มันจะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาวประมาณ 2-3เมตร ฉลามเสือนั้นสามารถพบได้ในทะเลเขตร้อนทั่วไป ซึ่งพบมากในมหาสมุทรเเปซิฟิกตอนกลาง ฉลามเสือนั้นจะอยู่ในเส้นศูนย์สูตรตลอดฤดูหนาว เเละมักจะอยู่ในน้ำลึกที่บางทีอาจจะลึกได้ถึง 900เมตร เเต่บางครั้ง ฉลามเสือก็สามารถพบได้ในที่ไกลๆเช่น มหาสมุทรเเปซิฟิกตะวันตก
ลักษณะของปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม)
ปลากระดูกอ่อน(Cartilaginous Fish) มีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ (Placoid) ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก
แคลสเปอร์ (Clasper) โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ (Order) หลายวงศ์ (Family) หลายสกุล (Genus) โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ปลาโรนัน เป็นต้น
ฉลามกอบลิน(goblin shark) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitsukurina owstoni
ฉลามกอบลิน เป็น ปลาน้ำลึก อาศัยอยู่ใกล้พื้นทะเล ในบริเวณที่มีความลึกตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป ตัวอย่างที่เคยจับได้ลึกที่สุดจับได้ที่ความลึก 1,300 เมตร
ฉลามกอบลิน สามารถพบได้ทั่วไปในน้ำลึกที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง พบได้ทั่วตั้งแต่ออสเตรเลีย ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก แต่แหล่งที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ บริเวณน้ำลึกโดยรอบประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นสถานที่แรกที่ค้นพบพวกมัน
ฉลามขาวเป็นฉลามที่มีขนาดใหญ่มากๆ พบได้ทั้งบริเวณใกล้ฝั่งและผิวน้ำในมหาสมุทรใหญ่ๆทั้งหลาย ความยาวตัวอาจจะมากกว่า20ฟุตเลยนะจ๊ะ และหนักถึง4,938 ปอนด์ ฉลามขาวเป็นปลากินเนื้อที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลกตอนนี้เลยนะ


เนื่องจากภาพยนตร์เรื่อง Jaws ทำให้ภาพพจน์ของฉลามกลายเป็นสัตว์กินคนที่น่ากลัวไปซะงั้น ซึ่งจริงๆแล้วฉลามไม่ได้ทำร้ายคนมากขนาดนั้นซะหน่อย มันไม่ได้เห็นมนุษย์เป็นอาหารของมันเลยด้วยซ้ำ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีบันทึกคนถูกฉลามขาวโจมตีแค่31คนในรอบ200ปีมานี้เอง!! น้อยกว่าที่จขบ.คิดไว้ซะอีก แถมมีไม่กี่คนด้วยที่ได้รับบาดแผลถึงตาย ฉลามมันคงเซ็งเนอะ อยู่ดีๆคนก็ไปกลัวมันมากมายซะขนาดนั้น - -
ฉลามวัวถูกเรียกว่าฉลามที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ เพราะโครงกระดูกที่คล้ายคลึงกับพวกที่สูญพันธุ์ไปนานแล้วมีแค่บางส่วนที่ดูเป็นฉลามรุ่นปัจจุบัน ระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารก็ยังไม่วิวัฒนาการ และลักษณะเด่นที่สำคัญอย่างนึงคือ เหงือกของมันมี6 หรือบางทีก็7เรียงกัน ในขณะที่ฉลามอื่นๆมีเหงือกเรียงกัน5อัน
ฉลามวัว
ฉลามขาว
ฉลามกอบลิน
ฉลามเสือ
ฉลามม้าลายที่โตเต็มที่จะมีลักษณะเด่นคือจะมีลายเส้นเป็นแนวเรียงกัน5เส้นตามลำตัว ครีบหางที่อยู่ตรงเกือบครึ่งความยาวลำตัว และลายจุดสีดำเป็นแบคกราวนด์



ในตอนกลางวันจะพบฉลามม้าลายพักผ่อนอยู่ที่พื้นทะเล และบางครั้งจะใช้ครีบหน้าบังคับให้หัวหันไปเจอกับกระแสน้ำและจะอ้าปากทิ้งไว้เพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น มันทั้งเชื่องและเคลื่อนที่ช้า ทำให้ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ และสามารถดำลงไปหาที่พื้นทะเลได้ง่ายๆ แต่ก็มีนักดำน้ำถูกกัดเพราะไปดึงหางมันเพื่อพยายามจะเล่นกับมัน(กำ ก็ซนเองนี่หว่า เล่นอะไรแปลกๆเนอะ) และในปี2008มีอุบัติเหตุถูกฉลามนี้กัดแต่กลับไม่มีแผลซะงั้น
ฉลามม้าลาย
ชื่อนี้แปลเองนะ ไปsearchในกูเกิ้ลไม่มีนะว้อยย!! จะเรียกฉลามฟริลด์ก็แปลกๆไปหน่อยเลยตั้งชื่อไทยให้เองซะเลย ฮ่าๆ



ฉลามชนิดนี้ถูกเรียกว่าฟอซซิลมีชีวิตเลย ซึ่งมันมีหน้าตาเหมือนปลาไหลตัวใหญ่ๆซะมากกว่าแต่จริงๆแล้วมันเป็นฉลามนะ ในวันที่21 มกราคม ค.ศ.2007 ที่ประเทศญี่ปุ่นมีคนพบปลาที่มีลักษณะคล้ายปลาไหลหน้าตาประหลาดๆและมีฟันที่คม ปลาที่พบนั้นคาดว่าท้องอยู่ด้วย มีความยาว1.6เมตร กลุ่มคนที่พบบอกว่ามันดูไม่ค่อยสบาย เลยจับมันมาใส่ตู้ปลาน้ำเค็ม และถ่ายวีดีโอถ่ายภาพของมันเอาไว้ และปลาฉลามตัวนั้นก็ตายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจับมันมา



ที่มันถูกเรียกว่าฟอซซิลมีชีวิตก็เพราะมันแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทุกคนคิดว่ามันสูญพันธุ์ไปแล้วจนกระทั่งมีคนพบมันที่ญี่ปุ่นนั่นแหละ




ฉลามฝอย
ฉลามเสือดาวพบในคาบสมุทรแปซิฟิก ความยาวลำตัว3.9 – 4.9 ฟุต ฉลามรูปร่างเพรียวงามตัวนี้เนี่ยจะมีลักษณะเด่นคือลายตามลำตัวของมัน ลายสีดำคล้ายอานม้าที่พาดอยู่ตามหลัง และจุดสีดำๆขนาดใหญ่



กลุ่มของฉลามเสือดาวขนาดใหญ่จะพบในอ่าวและปากแม่น้ำ พวกมันจะว่ายอยู่เหนือผืนทรายและผืนโคลน พบมากในแถบชายฝั่ง ในน้ำที่ลึกน้อยกว่า13ฟุต ว่องไว ฉลามเสือดาวแทบจะไม่มีอันตราบใดๆเลยกับมนุษย์ มีแค่บันทึกที่ว่ามีฉลามเสือดาวไปก่อกวนนักดำน้ำและแค่ทำให้เลือดกำเดาไหล แต่ไม่มีการบาดเจ็บอื่นๆเลย



ฉลามเสือดาวกินเก่งมากกกก และเพราะมันอาศับอยู่ใกล้กับมนุษย์ทำให้ปัญหาสารเคมีมลพิษต่างๆกระทบไปถึงมันด้วย เช่น ปรอท....
รูปร่างของโลมา
โลมา อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรนับร้อยชนิด แต่ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ ๒ ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร บางครั้งยังพบโลมาอยู่ในแม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะ จะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้
ปลาโลมา
จมูก โลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาทั่วไป
หู หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้านข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของโลมามีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง



การมองเห็น โลมามีดวงตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเปลือกตาปิดได้ และในเวลา กลางคืนตาก็จะเป็นประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง ๕๐ ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิว สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปปลาโลมาจะมีสีผิวแบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ
ความฉลาดของโลมา
ว่ากันว่า โลมานั้นฉลาดไม่แพ้เด็กตัวเล็กๆ เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ สมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้ โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาโลมาช่วยชีวิตคนนั้นมีอยู่บ่อยครั้ง
ความฉลาดของโลมา
แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมาต้องการช่วยชีวิตคนจริงๆ หรือ เชื่อว่าจริงๆ แล้ว ปลาโลมานั้นเป็นปลาที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น ที่มันช่วยคนอาจเป็นเพราะมันต้องการเข้ามาเล่นสนุกๆ เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็น สัญชาตญาณของแม่ปลาที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าลูกปลาเสียชีวิต ระหว่างคลอด จะพบว่าแม่ปลาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด ภัยร้ายของโลมา ในประเทศไทย โลมาที่ติดอวนมาแล้ว จะถูกชำแหละเนื้อขายด้วยราคาถูกๆ เนื่องจากเนื้อปลาโลมามีความคาวมาก จึงไม่มีผู้นิยมบริโภคเท่าใดนัก ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็นประเทศที่ล่าปลาวาฬมากที่สุดในโลก จนกระทั่งปลาวาฬใกล้สูญพันธ์ จึงถูกสั่งห้ามล่าปลาวาฬ หันมาล่าปลาโลมาแทน โดยเพิ่มปริมาณการล่าปลาวาฬขึ้นเป็นสี่เท่า ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก จะเห็นว่าโลมา ไม่ได้มีชีวิตอยู่สุขสบายนักในท้องทะเลธรรมชาติ
ดังนั้น เราก็ควรที่จะอนุรักษ์เจ้าโลมาไว้ เพื่อที่จะได้ยกให้มันเป็นสัตว์ที่น่ารัก และมีให้เราได้เห็นอยู่ในท้องทะเลได้อีกนานๆ คงไม่มีใครอยากเห็นเจ้าโลมาน้อยน่ารัก โดนสาปให้แข็ง ตั้งโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ และมีป้ายเขียนว่า “สัตว์สูญพันธุ์” เป็นแน่.



ทัวร์ปลาโลมาจากเกาะสมุยไม่ได้หนึ่งในทัวร์ที่นิยมมากที่สุดในหมู่ผู้เข้าชมไปยังเกาะสมุย แต่จริงๆควรจะเป็น คุณมีโอกาสที่จะเห็นปลาโลมาพื้นเมืองหายากมากและสวยงามมากสีชมพูน่านน้ำของหมู่เกาะสมุย
ทัวร์ปลาโลมาจากเกาะสมุยเริ่มต้นด้วยการแนะนำทัวร์ของคุณที่มีประสบการณ์การเก็บรวบรวมคุณจากโรงแรมของคุณในรถมินิบัสปรับอากาศและการขับรถคุณผ่านทางทิศใต้ในเขตร้อนที่สวยงามและเขียวชอุ่มของเกาะสมุยไปยังชายหาดที่สวยงามของกรูดทอง
โลมาเผือก
ประเภทของสัตว์นํ้า ปลาฉลามกับปลาโลมา

ลักษณะ

มีรูปร่างอ้วนป้อม ปากกว้าง ปลายปากสั้นและทู่ ลำตัวเรียวไปทางปลายหาง คอดหางมีสันชัดเจน ครีบหางเรียวและมีปลายแหลม มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม มีขอบหยักเป็นจักคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างหลังและหางคล้ายลายของเสือโคร่ง จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งลายนี้อาจแตกเป็นจุดกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโตขึ้น ท้องมีสีจาง
ปลาฉลามเสือเมื่อโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 5 เมตร แต่ตัวที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 7 เมตร น้ำหนักหนักที่สุดคือ 807.4 กิโลกรัม พบกระจายว่ายหากินอยู่ทั่วไปในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั่วโลก มีพฤติกรรมชอบหากินตามแนวปะการังหรือบริเวณใกล้ชายฝั่ง หรือบริเวณปากแม่น้ำ โดยอาศัยตั้งแต่ระดับผิวน้ำจนถึงความลึก 140 เมตร ปกติมักอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวและหากินในเวลากลางคืน ว่ายน้ำได้คล่องแคล่วว่องไวมาก มีอาณาเขตในการหากินกว้าง 100 ตารางกิโลเมตร โดยที่อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น เต่าทะเล รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในทะเล เช่น แมวน้ำ หรือ สิงโตทะเลด้วย
ปลาฉลามเสือได้ชื่อว่าเป็นปลาที่กินไม่เลือกเหมือนเช่นปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias) เพราะมักเจอสิ่งที่ไม่ใช่อาหารในกระเพาะเสมอ ๆ เช่น ยางรถยนต์, กระป๋องน้ำ, เศษไม้ หรือ พลาสติก ซึ่งล้วนแต่เป็นขยะที่มนุษย์โยนทิ้งลงทะเลทั้งสิ้น
ปลาฉลามเสือ เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในระยะเวลาตั้งท้องนานเกือบหนึ่งปี สามารถตกลูกได้ตลอดทั้งปี โดยเฉลี่ยจะตกลูกครั้งละ 10-82 ตัว ลูกปลาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 51.76 เซนติเมตร เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4-6 ปี อายุขัยโดยเฉลี่ย 12 ปี แต่อายุในสถานที่เลี้ยงมักจะมีอายุเพียงสั้น ๆ ไม่เกิน 2 เดือนเท่านั้น
ปลาฉลามเสือ นับได้ว่าเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่มีอันตรายต่อมนุษย์ เพราะมีนิสัยดุร้ายและมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เลือก ในพื้นที่ทะเลของไทยนับได้ว่าเป็นปลาฉลามที่อาจทำร้ายมนุษย์หรือนักดำน้ำได้ร่วมกับ ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) และ ปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus) โดยสถานที่ ๆ มีรายงานปลาฉลามเสือทำร้ายนักดำน้ำหรือนักโต้คลื่นมากที่สุด คือ ฮาวาย เชื่อว่าเกิดจากเหตุที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว จึงทำให้ปลาฉลามเสือเห็นกระดานโต้คลื่นผิดไปเป็นแมวน้ำซึ่งเป็นอาหาร กอรปกับการที่มีเต่าทะเลซึ่งเป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งกระจายพันธุ์สูงด้วย[4]
ปลาฉลามเสือ มีชื่อเรียกอื่น ๆ ในภาษาไทยอีก เช่น "ตะเพียนทอง", "พิมพา" หรือ "เสือทะเล" [5]

อนุกรมวิธาน

ปลาฉลามเสือได้รับการจัดจำแนกครั้งแรกโดย ฟรังซัวร์ เปรอง และ ชาร์ลส์ อเล็กซานเดร์ ลูสซีเออร์ ในปี ค.ศ. 1822 โดยตั้งชื่อว่า Squalus cuvier[6] ในปี ค.ศ. 1837 โยฮันนาส์ ปีเตอร์ มึลเลอร์ และ เฟดเดอริก กุสตาฟ เฮนเล ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Galeocerdo tigrinus[6] สกุล Galeocerdoมาจากภาษากรีก galeos แปลว่า "ปลาฉลาม" และภาษาละติน cerdus แปลว่า "ขนแข็งของหมู"[6] บ่อยครั้งที่ถูกเรียกว่า "ปลาฉลามกินคน"[6]
ปลาฉลามเสือเป็นสมาชิกของอันดับ Carcharhiniformes ซึ่งเป็นอันดับปลาฉลามที่มีสมาชิกมากที่สุด มีมากกว่า 270 ชนิด[6] สมาชิกของอันดับนี้มีลักษณะเด่นคือ มีเยื่อนิกติเตติงเหนือดวงตา มีครีบหลังสองครีบ มี 1 ครีบก้น และช่องเหงือก 5 ช่อง นับเป็นสมาชิกขนาดใหญ่ที่สุดของวงศ์ Carcharhinidae ซึ่งสมาชิกในวงศ์นี้มีรูปร่างเพรียว แต่เต็มไปด้วยพละกำลัง เป็นปลาฉลามขนาดกลางถึงใหญ่[7]

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

บ่อยครั้งที่สามารถพบปลาฉลามเสือใกล้กับชายหาดทั้งในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก[6] มีพฤติกรรมเร่ร่อนโดยใช้กระแสน้ำอุ่นนำทาง ชอบอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรในช่วงฤดูหนาว มักอาศัยในน้ำลึกตามแนวปะการัง แต่ก็สามารถเคลื่อนไหวในร่องน้ำตื้นเพื่อไล่ตามเหยื่อได้ ในทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ปลาฉลามเสือสามารถพบไกลถึงประเทศญี่ปุ่นในทางเหนือและประเทศนิวซีแลนด์ในทางใต้[6] นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในทะเลแคริบเบียน, แอฟริกา, ประเทศจีน, เขตบริหารพิเศษฮ่องกงประเทศอินเดียประเทศออสเตรเลีย, และประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงอ่าวเม็กซิโก, ชายหาดของอเมริกาเหนือ,และบางส่วนของอเมริกาใต้[7]
มีบันทึกว่าพบปลาฉลามเสือที่ระดับความลึก 900 เมตร (3,000 ฟุต),[6] แต่แหล่งข้อมูลบางแหล่งอ้างว่าสามารถเคลื่อนที่ในน้ำตื้นที่ตื้นกว่าขนาดของลำตัว[7] ในการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้แสดงว่า ปลาฉลามเสืออาศัยในน้ำลึกเฉลี่ย 350 เมตร (1,100 ฟุต) และการพบเห็นปลาฉลามเสือเป็นเรื่องไม่ปกตินัก อย่างไรก็ตามมีการพบปลาฉลามเสือในฮาวายในระดับความลึก 3 เมตร (10 ฟุต) ซึ่งระดับน้ำบริเวณนั้นมีความลึก 6 เมตร (20 ฟุต)-12 เมตร (40 ฟุต)

ฉลาม

ปลาฉลาม    ปลาฉลาม  (อังกฤษ:  Shark ; ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวก หนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเ...